การพัฒนารูปแบบการบริหารงานการพัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Main Article Content

อดิศักดิ์ มุ่งชู
สมเจตน์ ภูศรี
เนตรชนก จันทร์สว่าง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบการบริหารงานการพัฒนานักเรียน ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ประการที่สอง พัฒนารูปแบบการบริหารงานการพัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบการ บริหารงานการพัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครื่องมือเป็นแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ บริหารและหัวหน้าโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของโรงเรียนที่เปิดสอนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จาก 136 โรงเรียน จำนวน 272 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าอินเตอร์ควอไทล์เรนจ์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารงานการพัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจัดทำร่างรูปแบบการบริหาร งานการพัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประชุมวิพากษ์ร่างรูปแบบ ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา ที่ โรงเรียนสารคามพิทยาคมกับนักเรียน 150 คน ครู 17 คน และการจัดประชุมสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อยืนยันรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบการบริหารงานการพัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตาม ความคิดเห็นผู้บริหารโรงเรียนที่เปิดสอนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหัวหน้างานผู้รับผิดชอบโครงการห้องเรียน พิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มี 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) การพัฒนาด้านบริหาร 2) การพัฒนาด้านวิชาการ 3) การพัฒนาด้าน บุคลากร และ 4) การพัฒนาด้านปัจจัยเอื้อต่อการเรียนการสอน ได้ตัวบ่งชี้ จำนวน 64 ตัวบ่งชี้

2. รูปแบบการบริหารงานการพัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย องค์ประกอบ สำคัญคือ 1) การพัฒนาด้านบริหาร 2) การพัฒนาด้านวิชาการ 3) การพัฒนาด้านบุคคลากร และ 4) การพัฒนาด้านปัจจัยเอื้อต่อ การเรียนการสอน เป็นการนำวงจรคุณภาพ PDCA ซึ่งได้แก่ การวางแผนการปฏิบัติตามแผนการตรวจสอบและการปรับปรุงมาบริหาร งานการพัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานการพัฒนานักเรียนห้องเรียน พิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า รูปแบบดังกล่าวพร้อมด้วยตัวบ่งชี้ 64 ตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและ ผู้ร่วม สัมมนา เห็นว่า เป็นรูปแบบที่ดีมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้อย่างยิ่ง

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการบริหารงานการพัฒนานักเรียน, ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

ABSTRACT

The purpose of this study is to analyse models of development of GIFTED students of Science & Technology for best–practice in order to create an improved model for administration of the development of GIFTED students of Science & Technology. The research was conducted in two phases : The first phase was an investigation into the factors component to improving the aforementioned administration model . This was done by questionnaire with a sample of 272 comprised of the administration and program chiefs of Science & Technology GIFTED student programmes from 136 schools. The data was analyzed with the use of percentage, means and inter-quartile range.The second phase was the analysis of the data from phase 1 an outline of measures for improvement was formed and implemented at Sarakhampittayakhom School involving 150 students and 17 teachers. The results were reviewed in critical-discussion meetings before being presented in a seminar to a panel of experts. The findings were then analysed by a focus group of 11. The findings of the research are as follows :

1. According to the school administration and the Science & Technology GIFTED Students program the improvement were comprised of four elements : administration development, academic development, personnel development and development of factors conducive to an effective learning. There were 64 indicators to this effect.

2. The administration model for the development of GIFTED students of Science & Technology is comprised of the following factors : 1) Administrative development 2) Academic development 3) Personnel development 4) Development of factors conducive to and effective learning

This constitutes effective use of the PDCA (Planning, Doing, Checking and Action) cycle in administration and development of the students in this program. The study has revealed that the 64 indicators are valid and that the proposed model is feasible and highly suitable for implementation.

Key words : Improving the Administration Model for the Development of GIFTED Students of Science and Technology

Article Details

บท
บทความวิจัย