การศึกษาผลการเรียนรู้โดยใช้แผนผังมโนมติเรื่องพันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

อารีวรรณ ขัตติยะวงศ์
เนตรชนก จันทร์สว่าง
นิตยา แซ่ซิ้ม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องพันธะเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โดยใช้แผนผังมโนมติ ประการที่สอง ศึกษาความสามารถในการเขียนแผนผังมโนมติของนักเรียนที่เรียนวิชาเคมี เรื่องพันธะ เคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน โรงเรียนบรบือ-วิทยาคาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์และ แบบประเมินความสามารถในการเขียนผังมโนมติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า

1. นักเรียนที่เรียนวิชาเคมี เรื่องพันธะเคมี โดยใช้แผนผังมโนมติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักเรียนที่เรียนวิชาเคมี เรื่องพันธะเคมี โดยใช้แผนผังมโนมติ มีความสามารถในการเขียนผังมโนมติด้านการจัดการ เนื้อหา และด้านความคิดสร้างสรรค์ สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.25 นักเรียนมีพัฒนาการด้านความสามารถในการเขียนแผนผังมโนมติ ด้านเนื้อหา/ความรู้ ด้านการจัดการเนื้อหา และด้านความคิดสร้างสรรค์

คำสำคัญ : แผนผังมโนมติพันธะเคมี

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to study 1) student’s learning achievement through the concept mapping approach on the topic“Chemistry Bonding”, and 2) the ability of drawing a concept map of the students learning via concept mapping approach. Subjects were 40 10thgrade students in Boraburwittayakanschool in the second semester of 2009 academic year selected by cluster random sampling. The instruments used in the research were an achievement test and concept mapping ability evaluation form. The statistics for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The t-test dependent was employed to test the hypothesis.

The results of the study were as follows:

1. Students learning via concept mapping approach gained significantly higher post-test scores than pre-test scores at the .05 level.

2. Students’abilities of drawing concept map afterlearning via concept mapping approach were developed in terms of content/knowledge, content management, and creativity. Content managementand creativity were highest developed at 88.25 per cent.

Keywords : Concept Map, Chemistry Bonding

Article Details

บท
บทความวิจัย