การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนของครู : การวิเคราะห์อภิมาน; The Synthesis of Research on Teaching Effectiveness of Teachers : A Meta - Analysis

Main Article Content

ธีระยุทธ อ้วนวงค์

บทคัดย่อ

การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนของครู : การวิเคราะห์อภิมาน มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะ
คุณภาพของผลงานวิจัย สรุปองค์ความรู้จากค่าขนาดอิทธิพล และเปรียบเทียบปัจจัยในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการ
สอนของครู เพื่อให้ได้ข้อสรุปของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจึงทำการสังเคราะห์งานวิจัยระดับมหาบัณฑิตในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2552 จำนวน
42 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเบื้องต้น คำนวณค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์อภิมานด้วยวิธีของกลาส
เปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพล โดยใช้สถิติครัสคัล-วัลลิส ผลการวิจัยพบว่า
1. การสรุปผลข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยในแต่ละเล่มสามารถสรุปได้ดังนี้ เพศที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุดคือ เพศชาย ปีการ
ศึกษาที่พิมพ์เผยแพร่งานวิจัยมากที่สุดคือ ปีพ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยมหาสารคามผลิตงานวิจัยมากที่สุด สาขาที่ผลิตงานวิจัยมาก
ที่สุดคือ สาขาวิจัย ชนิดของงานวิจัยที่พบมากที่สุดคือ วิทยานิพนธ์ ลักษณะของวัตถุประสงค์ที่มากที่สุดคือ หาความสัมพันธ์ จำนวน
ตัวแปรตามที่ใช้ในงานวิจัยมากที่สุด คือ จำนวน 1 ตัวแปร วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างคือ การเลือกแบบหลายขั้นตอน ขนาดของกลุ่ม
ตัวอย่างที่พบมากที่สุด คือ จำนวน 301- 400 คน คุณภาพเครื่องมือในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ประเภทเครื่องมือที่ใช้มากที่สุดคือ
แบบสอบถาม สถิติที่ใช้มากที่สุดคือ สหสัมพันธ์อย่างง่าย หรือวิเคราะห์การถดถอย
2. ผลการสังเคราะห์คุณภาพงานวิจัยโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยของคุณภาพงานวิจัยเท่ากับ 3.51 ผลการประเมินคุณภาพงานวิจัย
ที่เกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี
3. จากการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่าปัจจัยด้านทักษะความเป็นครู มีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 1.57 ปัจจัยด้านพื้นฐานความ
เป็นครู มีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 1.41 และปัจจัยด้านการสนับสนุนการสอน มีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 1.03
4. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยในแต่ละด้านที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนของครูโดยใช้การทดสอบแบบครัสคัล - วัลลีส ที่
คำนวณมาจากค่าขนาดอิทธิพลพบว่าปัจจัยในแต่ละด้านทำให้ประสิทธิภาพการสอนของครูไม่แตกต่างกัน
โดยสรุป ผลการเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลปัจจัยในแต่ละด้านที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนของครู ปัจจัยในแต่ละด้านดัง
กล่าวทำให้ประสิทธิภาพการสอนของครูไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ในการเลือกกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพการสอนของครู
นั้น ควรเลือกส่งเสริมในด้านใดด้านหนึ่งใน 3 ด้านนี้เพราะให้ผลไม่แตกต่างกัน

The Synthesis of Research on Teaching Effectiveness of Teachers: A Meta - Analysis. The purposes
of this study were to explore the characteristic and quality of research, to conclude knowledge from the
effect sizes and to compare factors associated with teaching effectiveness of teachers. Forty-two Master
degree research that were published during 1997 - 2009 were synthesized. Data were analyzed using the
basic statistic. A meta-analysis based on Glass’s method was used to calculate the effect size of the studies
and then compared through Kruskall-Wallis Test. The results were as follows:
1. The research characteristics were summarized as follows: Male produced more research documents
than female. The highest number of publications was in 2009. The finding indicated that Mahasarakham
University was the leader in research publication. The division that was studied the most was educational
research. The thesis was the most dominant type of all research documents. The most common objective
was to evaluate relationships. The number of dependent variables used in most studies was one variable.
Sampling method was a multi-stage sampling. Sample size of 301-400 documents was the most chosen. The
overall quality of the instruments was very good and the questionnaire was the most common instrument
used. The Statistic used was simple correlation or regression.
2. The overall average of research quality was found to be 3.51. The overall quality of research
concerning the quality of education was good.
3. This research synthesis found that the effect size of teacher’s skills was 1.57 and was 1.41 of
fundamental aspects of the teacher The effect size of teaching support factors was 1.03.
4. The comparisons in each of the factors associated with teaching effectiveness of teachers by using
the Kruskal - Wallis Test calculated from the effect size revealed that the factors that influence the efficiency
of teaching were not different.
In conclusion, the results of comparing the effect sizes of the factors associated with teaching
effectiveness of teachers indicated no difference in each of those factors. However, in terms of selecting the
activities to promote and improve the teaching effectiveness of teachers, should be promoted on one side
of the three because the results did not differ.

Article Details

บท
บทความวิจัย