รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

Main Article Content

พระมหา สมพร สุริโย
มัณฑนา อินทุสมิต
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของ
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในปีการศึกษา 2552
จำนวน 241 โรง ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก
โรงเรียนละ 3 รูป/คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 723 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
มีความเที่ยงระหว่าง 0.8973 - 0.9085 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้
ความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ความตรงเชิงโครงสร้าง และตรวจสอบความสอดคล้อง กลมกลืนของรูปแบบ
สมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
กับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า χ2 = 85.17, df = 70, p-value = 0.10, RMSEA = 0.03, CN = 277.64, GFI = 0.96 และ AGFI =
0.91 แสดงว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นในเชิงทฤษฎีมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง มี 3 ปัจจัย คือ บรรยากาศโรงเรียนแบบเปิด มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.50 รองลงมา คือ การ
เสริมสร้างพลังอำนาจแก่ครู มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.35 และพฤติกรรมผู้นำเชิงพุทธมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.10
ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อม มี 2 ปัจจัย คือ พฤติกรรมผู้นำเชิงพุทธมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.65 รองลงมา คือ
การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ครูมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.26 และปัจจัยที่มีอิทธิพลรวม มี 3 ปัจจัย คือ พฤติกรรมผู้นำ
เชิงพุทธ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.75 การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ครู มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0. 61 และบรรยากาศ
โรงเรียนแบบเปิด มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.50 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) พบว่า ตัวแปรที่นำมาศึกษาใน
รูปแบบ โดยมีความแปรปรวนของประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาได้ร้อยละ 77

The purposes of this research were to develop the structural equation model of factors affecting
the Phrapariyattidhum schools’ effectiveness during the 2010 academic year.
The samples were 241 Phrapariyattidhum schools obtained through multi-stage random sampling
and three teachers from each school were respondents for the study. The research instrument for data
collection was a 5-point rating scale questionnaire with 0.8973-0.9085 reliability The collected data were
analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, skewness and kurtosis, and Pearson’s
product moment coefficient. LISREL version 8.52 was also used to investigate the validity of the structure and
the relevance of the assumption to the empirical data.
The research findings are as follows:
1. According to the statistic value χ2 = 85.17, df=70, p-value=0.10, RMSEA=0.03, CN=277.64, GFI=0.96
and AGFI=0.91, this theoretically developed model was relevant to the empirical data.
2. The direct, indirect and total effects of school effectiveness were as follows :
2.1 Direct effect has three factors: school open climate with 0. 50 standard coefficient , followed
by teacher empowerment (0.35) and the leadership in Buddhist style (0.10), respectively.
2.2 Indirect effect has two factors: leadership in Buddhist style with .65 standard coefficient and
teacher empowerment (0.26).
2.3 The total effect has three factors: leadership in Buddhist style with 0.75 standard coefficient and
teacher empowerment (0.61) and open school climate (0.50).
The predictive coefficient (R2) indicated that the variables could describe the variance with these
Phrapariyattidhum schools’ effectiveness at 77 percent.

Article Details

บท
บทความวิจัย