การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบโครงงาน :กรณีโรงเรียนชุมชนโพนงามประสาทศิลป์ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์;Teacher Development in Organizing Child-centered Learning Activities using Projects : A case study of Pon-ngam Pra

Main Article Content

จิตณรงค์ โคตรชมภู
แก้วเวียง นำนาผล
ชัยยนต์ เพาพาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประการที่แรก ศึกษาปัญหาและความต้องการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานประการที่สอง พัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ประการที่สาม พัฒนาครูให้มีความความสามารถด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน และ ประการที่สี่ ศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนชุมชนโพนงามประสาทศิลป์ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติ
การ (Action research) ตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart ดำเนินการ 2 วงรอบ กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงานและการนิเทศภายใน กลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีจำนวน 4 คน ประกอบด้วยครูโรงเรียนชุมชน
โพนงามประสาทศิลป์ ที่สมัครใจเป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 3 คน และผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 – 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลัก
การตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation technique) และนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive analysis)
สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนยังขาดความรู้ ความเข้าใจด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน และครูมีความความต้องการพัฒนาตนเองด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ร้อยละ 47.06
2. การพัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยการใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงานทำให้กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน และสามารถนำความรู้
ไปจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้
3. การพัฒนาครูให้มีความสามารถด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานจากการใช้กลยุทธ์ การนิเทศภายในทำให้กลุ่มผู้ร่วมวิจัยสามารถเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้ถูกต้อง ครูสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมตามระดับชั้นและวัยของผู้เรียน และครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนสามารถ
ดำเนินงานตามรูปแบบโครงงาน 5 ขั้นตอนได้ประสบผลสำเร็จ
4. การเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน พบว่า นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์เพิ่มขึ้นภายหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน

This research aimed to 1) analyze problems and needs in organizing child-centered learning activities
using projects, 2) improve teachers’ skills and knowledge on how to organize child-child-centered learning
activities using projects, 3) strengthen teachers’ ability in organizing child-centered learning activities
using projects, and 4) study learning achievement before and after use of the organized child-centered
activities using projects with students of Pon-ngam Prasartsil Community School, Kamalasai District, Kalasin
Province. This action research of two cycles, based on Kemmis and McTaggart Principles, was conducted
during May to August 2010 using these strategies: workshops, study tours and internal supervision. The
research participants were 3 teachers from Pon-ngam Prasartsil Community School and 1 school executive
(the researcher). The research tools used in this study were a test, an observation form, an interview form,
and a questionnaire of a 0.06-1.00 IOC. The triangulation technique was used in data analysis, and findings
of the study were descriptively analyzed and presented. The statistics used in this study were percentage,
mean and standard deviation.
Findings of the study are as follows:
1. Regarding problems and needs attributed to child-centered learning using projects, it was found
that teachers lacked knowledge in organizing learning activities using projects. However, 47.06 % of them
were determined to improve themselves in this area.
2. By improving teachers’ knowledge and understanding in organizing activities using projects
through workshops and study tours, the research participants had a better knowledge and understanding
in this area, and they were able to apply this in their lesson plans for using projects.
3. As a result of internal supervision, these teachers were able to design suitable activities according
to their students’ level and age. Moreover, they were able to effectively organize these activities, which
improved their students’ ability to follow the 5-step project procedure.
4. When comparing the students’ pretest and posttest results it was evident that after doing their
projects the students’ analytical thinking increased, and their ability to synthesize also improved.

Article Details

บท
บทความวิจัย