ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1;Results of Problem-based Mathematical Learning Activities on Solving Linear Equations for Grade 7th Students

Main Article Content

จันทร์เพ็ญ พวงสมบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจ

ัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สมการเชิงเส้น
ตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ให้
นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่า 70 % สอบได้คะแนน 70 % กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1
โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2552 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 45 คน รูปแบบการวิจัยใช้วิธีการวิจัย
เชิงปฏิบัติการ มีวงจรการปฏิบัติ 2 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
จำนวน 11 แผนการจัดการเรียนรู้ แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่
แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน แบบทดสอบย่อยท้ายกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์
3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย เท่ากับ
0.55 ค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.61 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลทุก
แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผล เมื่อสิ้นสุดแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบวัดความรู้
แล้วสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทุกแผน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ อภิปรายเพื่อปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละ
วงจรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และปรับปรุงใช้ในวงจรต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ผลการ
วิจัยพบว่า
1. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มี
ประสิทธิภาพเท่ากับ 86.12/91.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80 2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 0.80 ซึ่งแสดงว่ากิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
มีความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 80 3) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และสูงกว่าเกณฑ์ที่
กำหนด 70/70 โดยสรุปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าและเห็นว่า
มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นอื่นให้บรรลุผลได้เช่นกันโดยเฉพาะ
การเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยการคิดอย่างมีเหตุผลมากขึ้น;

This study aimed to investigate results of problem-based mathematics learning activities on Solving Linear
Equations for grade 7th students, and to study grade 7th students’ achievement in mathematical learning
on this subject. The target group consisted of 45 grade 7th students of Kosum Wittayasan School. The study
made use of action research of 2 cycles. The instruments used in this research were of 3 types :
1) 11 problem-based instructional plans of 1 hour each on Solving Linear Equations for grade 7th students,
2) reflection instruments: teaching behavior observation form, student behavior observation form, end-ofactivity
tests, skill practice forms, student interview form, and end-of-spiral tests ,and 3) an efficiency evaluation
tool of learning activity : a learning achievement test on Solving Linear Equations for grade 7th students. This
30-item 4-choice test has difficulty index (P) of 0.55, discrimination power (B) of 0.61, and 0.75 reliability.
Data regarding all the instructional plans were collected using the reflection instruments, At the end of each
cycle students were given a test. Data were analyzed and discussed to improve learning in the next cycle.
The collect data were analyzed using the arithmetic mean, standard deviation, and percentage. Results
were then presented in a descriptive report. Findings of the study are as follows:
1. The efficiency of the problem-based mathematical learning activities was 86.12/91.11, which was
higher than the established criteria of 80/80.
2. The effectiveness index of the problem-based mathematical learning activities was 0.80, showing that
the students’ learning increased at 80.00 per cent.
3. The students who learned through problem-based activities had a higher achievement at the .01
level of statistical significance.
In conclusion, using problem-based mathematical learning activities could enhance students’ learning
achievement and should be applied in teaching mathematics at other levels; this can increase students’ ability
in problem solving as well as logical thinking.

Article Details

บท
บทความวิจัย