กระบวนการส่งเสริมสนับสนุน การปฏิรูปการเรียนรู้ โดยใช้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา : นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองแปนโนนสูงนาเชือกราษฎร์บำรุง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์;The Processes for Promoting the Learning Reform Following the

Main Article Content

กชพร ศรีตะวัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมสนับสนุน การปฏิรูปการเรียนรู้ โดยใช้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอ
เพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองแปนโนนสูงนาเชือกราษฎร์บำรุง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน
50 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากเป็นชั้นเรียนที่มารดาเป็นครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสนทนากลุ่ม
2) แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง และครู-อาจารย์ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครอง และแบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียน
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนจำนวน 14 คน บุคลากรและเจ้าหน้าที่จากกองส่งเสริมคุณภาพชีวิต
องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 8 คน และผู้ปกครองที่ให้ความร่วมมือในเขตให้บริการของโรงเรียนหนองแปนโนนสูง
นาเชือกราษฎร์บำรุง กลุ่มเป้าหมายการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองแปนโนนสูงนาเชือกราษฎร์บำรุง มี
จำนวนนักเรียนรวมทั้งสิ้น 50 คน ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน และชุมชน ในกระบวนการส่งเสริมสนับสนุน การปฏิรูปการเรียนรู้ โดยใช้หลัก
ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียงหนองแปนโนนสูงนาเชือกราษฎร์บำรุง อำเภอกมลาไสย
จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า การประชุมวางแผนแบบมีส่วนร่วม (A-I-C) ในการสนับสนุนส่งเสริม การปฏิรูปการเรียนรู้ โดยใช้หลักของ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนหนองแปนโนนสูงนาเชือก
ราษฎร์บำรุง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.66) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่
มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ข้อ 11 ในที่ประชุม ท่านได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ แปลผลอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่า
เฉลี่ย 4.94)
2. ระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากนักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมในกระบวนการ
ส่งเสริมสนับสนุน การปฏิรูปการเรียนรู้ โดยใช้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า คุณลักษณะที่เกิดขึ้นในตัวนักเรียน อันเป็นผลเนื่องมากจากการส่งเสริมสนับสนุน การปฏิรูปการเรียนรู้ โดยใช้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนหนองแปนโนนสูงนาเชือกราษฎร์บำรุง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จาก
การสอบถาม จากการสอบถามผู้บริหาร ครูผู้สอนผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.42);

This research aimed to promote instructional processes for learning reform directed by the philosophy of
self-sufficiency economy for grade 3th students of Nongpannonsung Nachueakratbamrung School, Amphoe
Kommalasai, Changwat Kalasin. Fifty student samples were selected by the purposive sampling method
because their mothers were classroom teachers. The instruments used for collecting data consisted of 1) a
focus group 2) an interview form for parents and teachers as well as a questionnaire on students’ satisfaction.
The key informants were fourteen school administrators and teachers, eight staff members from Quality
of Life Promotion Division, Maha Sarakham Province and cooperative parents living in the school service
areas. The target group was fifty grade 3th students, studying in the first semester of the academic year of 2009
from Nongpannonsung Nachueakratbamrung School, Amphoe Kommalasai, Changwat Kalasin.
The results indicated the followings:
1. Regarding the participation of government and private sectors and communities in the enhancing
processes for learning reforms directed by the philosophy of self-sufficiency economy, it was found that
the participatory meeting called A-I-C as a whole obtained the highest scores ( mean score at 4.66). When
considering by each aspect, it was found that the highest mean score was at 4.95 which was about the
participation in expressing opinions in the meeting.
2. In terms of desirable characteristics, it was found that after the implementation of the activities to
promote the processes for instructional reform, students’ desirable characteristics as a whole, based on
administrator and parents respondents, got the mean score at 4.42 or at the high level.

Article Details

บท
บทความวิจัย