การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนแจกลูกสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ; The Development of Reading Skill and Writing Skill by Drilling-Spelling Technigue for Grade 1st Students of the Thai Language Strand

Main Article Content

ละมุล จันทร์แป้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ การอ่านและการเขียนแจกลูกสะกดคำ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประการที่สอง เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและ
การเขียนแจกลูกสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประการที่สาม เปรียบเทียบทักษะการอ่านและ
การเขียนแจกลูกสะกดคำ ก่อนเรียนและหลังเรียน และประการที่สี่ ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อ
การเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนแจกลูกสะกดคำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน บ้านเลิงแฝกบัวแก้ว ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาเลิงแฝก
หนองแวง อำเภอกุดรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 19 คน
ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้มี 4 ประเภทคือ แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน
แจกลูกสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 9 ชุด ชุดละ 5 แบบฝึกย่อย แผนการจัดการ
เรียนรู้เรื่องการอ่านและการเขียนแจกลูกสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 9 แผน
แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านและการเขียนแจกลูกสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบ
อัตนัย จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน และการเขียนแจก
ลูกสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นมาตราส่วนประมาณค่า มี 3 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ผลการ
วิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนแจกลูกสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นมี
ประสิทธิภาพเท่ากับ 84.04 / 87.37
2. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนแจกลูกสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าดัชนี
ประสิทธิผลเท่ากับ 0.7391 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน ร้อยละ 73.91
3. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนแจกลูกสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนแจกลูกสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก;

The purposes of this research were 1) to develop and find the efficiency of the reading and writing
exercises using drilling-spelling technique of grade 1st students, the Thai Language Strand, 2) to study the
effectiveness index of the reading and writing exercises using drilling-spelling technique, 3) to compare
the reading and writing skills of students using the pre-test and posttest and 4) to investigate students’ satisfaction
on the reading and writing exercises using drilling-spelling technique.
The samples used in the study were nineteen Prathomsuksa 1 students studying in the first semester of
an academic year of 2009 from Ban Loengfakbuakaeo School, Center for Developing Educational Quality at
Loengfaknongwaeng, Amphoe Kutrang, Maha Sarakham Education Service Area 3, selected by the purposive
sampling method. The instruments used for collecting data included nine sets of five item of reading and
writing exercises using drilling-spelling technique, nine teaching plans to practice reading and writing skills,
twenty items of reading and writing skills objective tests and a three-rating-scale of 15-item questionnaire on
students’ satisfaction on the reading and writing exercises.
The research findings were as follows :
1. The efficiency of the reading and writing exercises using drilling-spelling technique was at 84.04/87.37.
2. The effectiveness index of the reading and writing exercises using drilling-spelling technique was
0.7391 which indicated that the increased reading and writing skills of students was at 73.91%.
3. After learning using the reading and writing exercises using drilling-spelling technique, the learning
achievement of students was higher than before learning at the significance level at 0.05.
4. The students’ satisfaction on the reading and writing exercises using drilling-spelling technique was
at the high level.

Article Details

บท
บทความวิจัย