ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจ : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการเรียนแบบร่วมมือกับ การเรียนแบบปกติของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ;Learning Achievement in Business Statistics: Comparative Study between Cooperative Learning and Traditional Le
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจระหว่างการเรียนแบบร่วมมือ
กับการเรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ชั้นปีที่ 2 ที่กำลังเรียนวิชาสถิติธุรกิจใน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 2 sections รวม 123 คนได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเป็นกลุ่ม (Cluster sampling)
แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มทดลอง 1 section จำนวน 69 คน เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเหลือเพื่อน
เป็นรายบุคคล (Team assisted individualization หรือ TAI) และกลุ่มควบคุม 1 section จำนวน 54 คน เรียนด้วยวิธีการ
เรียนแบบปกติ (Traditional learning) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนวิชาสถิติธุรกิจ แบบทดสอบวัดผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลอง และแบบวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนวิชาสถิติธุรกิจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน
ร่วม (ANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว (One way ANCOVA) ผลการวิจัยที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่า
1) เมื่อควบคุมอิทธิพลของเจตคติที่มีต่อการเรียนวิชาสถิติธุรกิจ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจของนักศึกษากลุ่มที่
เรียนแบบร่วมมือกับนักศึกษากลุ่มที่เรียนแบบปกติแตกต่างกัน โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจของนักศึกษากลุ่มที่เรียน
แบบร่วมมือสูงกว่านักศึกษากลุ่มที่เรียนแบบปกติ และ 2) นักศึกษากลุ่มที่เรียนแบบร่วมมือที่มีผลการเรียนดี ปานกลาง และอ่อนมีผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจไม่แตกต่างกัน;
The research was conducted to study and compare students’ learning achievement in Business Statistics
between the traditional learning and cooperative learning. The samples were two sections of 123
second-year Business Administration students at Bangkok University, enrolled in Business Statistics course
in second semester of academic year 2010 got from cluster sampling. They were divided into an experimental
group with 69 students who studied with cooperative learning and a control group consisting 54 students
who studied with a traditional method. The research instruments included lesson plans, post-learning
achievement tests, and a questionnaire investigating students’ attitude towards studying Business Statistics.
The data were analyzed by Analysis of Covariance and One-Way Analysis of Variance. At the statistical
significance level of .05, the research findings reveal as follows: 1) When the effect of attitude toward learning
Business Statistics was controlled, learning achievement scores in Business Statistics of the two groups
were different. That is, the learning achievement score of students in cooperative learning group was higher
than that of students studying with a traditional method. 2) In the cooperative learning group, students with
different grade point average (GPA) levels namely high, moderate, and low did not have different learning
achievement scores in Business Statistics.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา