ผลการใช้ชุดกิจกรรมในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย; Effect of Learning Activities on Developing Mathematics Readiness among Preschool Children

Main Article Content

โดยตน วงศ์ราชา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อสร้างชุดกิจกรรมในการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมไม้ไอศกรีม 4 สี และประการที่สอง เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมไม้ไอศกรีม 4 สี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี จำนวน
1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ที่กำลังเข้ารับการจัดประสบการณ์ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดหนองกุงเหนือ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบไปด้วย แผนการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมไม้ไอศกรีม 4 สี จำนวน 8 เรื่อง เรื่องละ 2 แผนรวมเป็น 16 แผน
ชุดกิจกรรมไม้ไอศกรีม 4 สีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและแบบทดสอบวัดความพร้อม ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 24 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ t – test(Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า
ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมไม้ไอศกรีม 4 สี ที่ใช้ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.54/94.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ หมายความว่า เด็กปฐมวัยได้คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบระหว่างการจัดประสบการณ์ ทั้ง 8 เรื่อง จำนวน 16 แผน คิดเป็นร้อยละ 83.54 และมีคะแนนการทดสอบหลังการจัดประสบการณ์ ด้วยแบบทดสอบวัดความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยคิดเป็น
ร้อยละ 94.58ผลของการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยพบว่าหลังจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัยมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 23.37 แสดงให้เห็นว่ามีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้นกว่าก่อนจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมไม้ไอศกรีม 4 สีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของ
เด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมไม้ไอศกรีม 4 สีมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์

This research aimed to 1) develop instructional activities for increasing mathematics readinessamong preschool children through use of four-color ice-cream sticks; and 2) compare the children’s
mathematics readiness before and after learning through these activities. Subjects for this study were30 preschool children of 4 - 5 years old at the Preschool Training Center of Nong Koong Nuae Temple,
under Nong Koong Sub-district Local Administration Organization, Kalasin, in the first semester of theacademic year 2009. The instruments used in this study were 16 instructional plans under 8 titles ofactivities using four-color ice cream sticks that the researcher constructed; and a 24-item test ofpreschool mathematics readiness. The statistics used for analyzing data were percentage, mean,
standard deviation, and t-test (Dependent Samples) for hypothesis testing. Findings of the study are as
follows:The efficiency of the instructional activities for increasing mathematics readiness amongpreschool children through 16 instructional plans of 8 titles using the four-color ice cream sticks was
83.54/94.58, which was higher than the 80/80 established criteria; in other words, the students’ meanscore throughout the training was 83.54, and their post-training mean score of mathematics readiness
testing was 94.58.After training, the children’s mathematics readiness increased 23.37 %, which was significantly
higher than the mean score before treatment with these activities at the .05 level; that is to say, aftertraining their mathematics readiness was higher than that before participating in the activities as
hypothesized.

Article Details

บท
บทความวิจัย