การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการเรียนรู้แบบร่วมมือ; Development of Computer Online Lessons through Cooperative Learning , Occupation and Technology Learning Substance

Main Article Content

สมศักดิ์ ศรีรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประการแรก เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ประการที่สอง
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประการที่สาม เพื่อศึกษาดัชนี
ประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มี
การเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่พัฒนาขึ้น ประการที่สี่ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์
บนเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มเป้าหมายที่
ใช้วิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านหมากค่า อำเภอแกดำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มหาสารคาม เขต 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ซึ่งได้มาโดยการพิจารณาเห็นเป็นนักเรียนกลุ่มด้อยโอกาสในการเรียนโดย
การใช้สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์บน
เครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ ที่มีค่าความยาก (P) ระหว่าง 0.29-0.71และค่าอำนาจจำแนก (B)
ระหว่าง 0.22-0.70 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนหลังการเรียน
ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการเรียนรู้
แบบร่วมมือ จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Standard deviation) และการทดสอบสมมติฐาน ใช้ t-test (Dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า

1) บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มี
การเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.83/86.29 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.8609 คิดเป็นร้อยละ 86.09 แสดงว่า นักเรียนมี
ความก้าวหน้าในการเรียน 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด
โดยสรุป บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ที่มีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของรายวิชา

 

This research aimed to 1) develop computer online lessons through cooperative learning for 6th
grade education, occupation and technology learning substance, that met the 80/80 established
criterion; 2) compare the students’ post-test achievement after learning through these lessons with that
of the pre-test ; 3) study the effectiveness index of these lessons; and 4) study the students’ satisfaction
with the computer online lessons through cooperative learning. Subjects for this research were 21
students for 6th grade education studying in the second semester of 2008 at Ban Mark Ka Community
School, Maha Sarakham Educational Service Area Office 1. The instruments for the study were
1) computer online lessons through cooperative learning for Prathom Sueksa VI; 2) a 50- item multiplechoice
achievement test of information technology, with 0.29-0.7 difficulty value, 0.22-0.70
discrimination power, and 0.85 reliability; and 3) a 40-item test of students’ satisfaction with the
computer online lessons. The statistics used for analyzing data were percentage, mean, standard
deviation, and t-test (Dependent Samples) for hypothesis testing. Findings of the study revealed the
following:
1) The efficiency of the computer online lessons through cooperative learning for 6th grade
education, under occupation and technology learning substance, was 84.83/86.29; 2) the students’
post-test achievement was significantly higher than that of the pre-test at the .05 level; 3) the
effectiveness index was 0.8609, or 86.09 % in learning progress; and 4) the students’ overall
satisfaction with the computer online lessons through cooperative learning was found at the highest
level.
In conclusion, the computer online lessons through cooperative learning for 6th grade
education, under occupation and technology learning substance, met the required efficiency and
effectiveness indexes, and thus could be applied in organizing instructional activities for learning
development according to the objectives of the course.

Article Details

บท
บทความวิจัย