การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6; Development of Computer Assisted Instruction (CAI) Lessons Entitled Earth and Space Science, the Science Learn

Main Article Content

ศุภรา แสงแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประการแรก พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและ
เทคโนโลยีอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประการที่สอง ศึกษาดัชนีประสิทธิผล
ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น ประการที่สาม เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับก่อนเรียนของ
ผู้เรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ ประการที่สี่ ศึกษา
ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ปรากฏการณ์ของ
โลกและเทคโนโลยีอวกาศ ประการที่ห้า ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง
ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน
บ้านร่วมใจ 1 อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2552 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยี
อวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures One Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.85/
88.97 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.76 นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและ
เทคโนโลยีอวกาศ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
มีความคงทนในการเรียนหลังเรียน 2 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์
ช่วยสอน เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33)

The purposes of this research were 1) to develop CAI entitle: Earth and Space Science ; 2) to
find the Effective Index of this CAI lesson; 3) to compare the learning achievement before and after
learning via the CAI lesson; 4) to study students’ learning retention and 5) to study students satisfaction
on the CAI lesson. The sample was a class with 17 students attending for 6th grade education at Ban
Roumjai 1 Mueang Distrct, Maha Sarakham under Maha Sarakham Educational service Area Office 1 in
2009 academic year. Research tools were 1) CAI; 2) Achievement test with 40 items of multiple
choices; and 3) A Questionnaire of students’ satisfaction on the CAI. An collected data were analyzed
by the percentage, mean, standard deviation, and Repeated Measurement One Way ANOVA.
The research findings were as follows :
1) The CAI lesson entitle: Earth and Space Science was effective since they found to have the
criteria of 89.85/88.97 ;
2) The Effective Index of CAI lesson entitle: Earth and Space Science was 0.76;
3) The student’s achievement scores after learning via the CAI lesson entitle: Earth and
Space Science were significantly higher than that before using the learning the CAI lesson at the level
of .05;
4) The students showed significantly retention after two weeks of learning via the CAI lesson
entitle: Earth and Space Science at the level of .05;
5) The students showed satisfaction in the CAI lesson entitle: Earth and Space Science at the
high level (average score =4.33).

Article Details

บท
บทความวิจัย