การพัฒนาและศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโคกก่องวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1; The Development and Study the R
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ประการแรกเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิต
ของสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ ประการที่สองเปรียบเทียบความสามารถใน
การอ่านทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และประการที่สามเพื่อเปรียบเทียบเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโคกก่องวิทยา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
ชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 9 ชุด แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านทางวิทยาศาสตร์ เป็นแบบ
ทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัว
เลือก จำนวน 32 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ สถิติที่ทดสอบสมมติฐาน
คือ t-test (Dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ
เท่ากับ 91.69/89.17
2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถในการอ่านทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of this research were to: firstly, develop the efficiency of learning packages for
reading promotion in science entitled ‘ Survival of Animals’, secondly, compare the ability of students in
reading science before and after using the learning packages, and thirdly, compare the students’
attitude towards science before and after using the learning packages. The target group was one class
of 36 students who were studying for 6th grade education at Kogkongwitaya School under Kalasin
Educational Service Area Office 1 in the first semester of 2009 academic year. The instruments used in
the research were: 9 learning packages, 30-item of 4 multiple choices of science reading ability test and
32- item of 4 multiple choices of attitude test. The statistics used for analyzing data were mean,
standard deviation, and percentage including t-test (Dependent samples) for hypothesis testing.
The research findings were as follows:
1. The efficiency of learning packages for reading promotion in science entitled ‘Survival of
Animals’ was 91.69/89.17.
2. The student’s ability after using learning packages for reading promotion in science was
significantly different higher than that before at .01 level.
3. The student’s attitude towards science after using learning packages for reading promotion
in science was significantly higher than that before at .01 level.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา