การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5; The Development of Computer Assisted Instruction (CAI) Entitled ‘Water, Sky, and Star’, for 5th Grade Education

Main Article Content

บูลวัชร ไชยเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประการที่สอง เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ประการที่สาม เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว ก่อนเรียน
และหลังเรียน และประการที่สี่ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านป่ากุงหนา อำเภอบรบือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง น้ำ ฟ้า
และดวงดาว กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถาม
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5มีประสิทธิภาพร้อยละ 84.29/83.10 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เท่ากับ 0.5034 คิดเป็นร้อยละ50.34 จึงแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้น
2. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

The purposes of this research were to: firstly, develop and find out the efficiency of CAI entitled
‘Water Sky and Star’ of science learning strand for grade 5 students, secondly, to find out the effective
index of the CAI lesson, thirdly, compare the learning achievement after and before learning via the CAI
lesson, and 4) investigate students’ satisfaction on the CAI lesson. The target group was a class with 14
students who were studying for 5th grade education 5 at Ban Pakungna Bourabou District, Maha
Sarakham Province under Maha Sarakham Educational Service Area Office 1 in the first semester of
2009 academic year. The instruments used in the research consisted of 1) CAI lessons, 2) an
achievement test, and 3) a questionnaire of students’ satisfaction on the CAI lesson. The collected data
were analyzed by percentage, mean, standard deviation, including t-test (Dependent samples) for
hypothesis testing.
The research findings were as follows:
1. The efficiency of CAI lesson entitled: Water, Sky and Star had the criteria of 84.29/83.10.
2. The effective index of CAI lesson was 0.5034 at 50.34 percent. This indicated that the
students were more progress in learning.
3. The student’s achievement after learning via the CAI lesson were significantly higher than
that before using the CAI lesson at .01 level.
4. The students’ satisfaction towards the CAI lesson was a very high level.

Article Details

บท
บทความวิจัย