การศึกษาการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2; Study on Local Curriculum Development of Basic Educational Institutions under Maha Sarakham Educational Service Area Office 2

Main Article Content

ทองม้วน สีแนน ทองม้วน สีแนน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ประการแรกเพื่อศึกษาการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ของสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน และประการที่สองเพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพกับขนาดสถานศึกษาที่มีต่อการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร
ท้องถิ่นในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2550 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 โดยรวมและรายด้าน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูวิชาการและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2
จำนวน 350 คน โดยใช้ตารางของ Krejcie และ Morgan แบ่งเป็นครูวิชาการ 175 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 175 คน จากสถาน
ศึกษา จำนวน 175 แห่ง ได้กลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยแบ่งกลุ่มตามอำเภอแล้วแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา
และสถานภาพ แล้วสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.92 สถิติที่
ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่า F-test (Two-way ANOVA) โดย
ใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า
1. สถานศึกษามีการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมและรายด้าน ทุกด้านอยู่
ในระดับมาก เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดทำหลักสูตร ด้านการนำหลักสูตรไปใช้ และด้านการ
ประเมินหลักสูตร
2. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสถานภาพและขนาดสถานศึกษา ต่อการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 โดยรวมและรายด้าน จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านการนำ
หลักสูตรท้องถิ่นไปใช้ และด้านการประเมินหลักสูตร แต่มีปฏิสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านการจัดทำ
หลักสูตร

This research aimed to: firstly, study the local curriculum development of basic educational
institutions and secondly, study the interaction between school status and size that effected local
curriculum development of 2007 academic year in basic educational schools under Maha Sarakham
Educational Service Area Office 2 as a whole and in each aspect. The subjects of the research
consisted of 175 academic teachers and 175 school administrators, selected through multi–stage
random sampling. This classified by each district, then school size and status and finally, simple random
sampling was used. The instrument used in the research was a rating scale questionnaire with 0.92 of
reliability. The statistics used for analyzing data were percentage, mean (EMBED Equation.3) and
standard deviation (S.D.). F–test (two-way ANOVA) was used for hypothesis testing.
The results of the research were as follows:
1. The educational institutions had developed local curriculum of basic educational institutions
at a high level as a whole and in each aspect. Considering each aspect, it was shown at a high level
difference from high to low: curriculum management, curriculum implementation and curriculum
assessment.
2. There was no interaction between status and school size of educational institutions on local
curriculum development of basic educational school under Maha Sarakham Educational Service Area
Office 2 as a whole and two aspects: curriculum implementation and curriculum assessment. However,
curriculum management was interacted with statistically different at.05 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย