การเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ่นโดยกระบวนการจัดการความรู้; Local Literary Learning by Using Knowledge Management Process

Main Article Content

บัวผิน ฝาแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาระดับความต้องการในการดำเนินการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ่น
ประการที่สอง เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ่นโดยกระบวนการจัดการความรู้และ ประการที่สาม เพื่อให้ได้
กระบวนการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ่นโดยกระบวนการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของท้องถิ่น
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเม็กดำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มหาสารคามเขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงและ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสำรวจระดับความต้องการการจัดการเรียนรู้วรรณกรรม
ท้องถิ่นโดยกระบวนการจัดการความรู้ 2) การสนทนากลุ่ม 3) เรื่องเล่าเร้าพลัง 4) การสกัดขุมความรู้ 5) การสังเคราะห์แก่นความรู้
6) แบบบันทึกผลหลังการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ 7) การถอดบทเรียน 8) เวทียืนยันความน่าเชื่อถือของข้อมูล สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความต้องการในการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ่นโดยกระบวนการจัดการความรู้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้ง 3 กลุ่ม
อันประกอบด้วย 1) ครูโรงเรียนบ้านเม็กดำ 2) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเม็กดำ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเม็กดำ รวมทั้งสิ้น 193 คน เป็นเพศชาย 79 คน คิดเป็นร้อยละ 40.93 ของทั้งหมด
ในส่วนของอายุของผู้ตอบแบบสำรวจมีอายุอยู่ในช่วง 10–20 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40.41 ของทั้งหมด ส่วนระดับการศึกษา
มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43 ของทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ต่างมีความต้องการให้
จัดการเรียนวรรณกรรมท้องถิ่นเพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมของชุมชน
2. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ่น ใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ จำนวน 5 กิจกรรม ประกอบด้วย
1) เรื่องเล่าเร้าพลัง 2) การสกัดขุมความรู้ 3) การสังเคราะห์แก่นความรู้ 4) การบันทึกผลหลังการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
5) การถอดบทเรียน
3. กระบวนการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ่นโดยกระบวนการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของ
ท้องถิ่น มีกระบวนการในการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ

1) การศึกษาความต้องการการจัดการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ่น

2) การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ่น

3) กระบวนการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ่น

4) การประเมินกระบวนการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ่น

The purposes of this research were to 1) study the level of necessity in performing the local
literary learning process; develop the local literary by using knowledge management process; and
obtain the local literary learning process relating to the context and the needs of the community. The
target group of this research consisted of 27 9th grade students at Ban Mekdum School, in the first
semester of the academic year 2009, under Maha Sarakham Educational Service Area Office 2, and 3
local indigenous people, selected through the purposive sampling technique. The instruments and
methods used for data collection were a survey’s requirement form for the local literary learning by
knowledge management process; focus group discussion; storytelling; knowledge assets; core
competence synthesis; the record result form of after the learning activities; lesson distilled; and
affirmation of information reliability. The statistics used for data analysis were percentage, mean and
standard deviation.
The results were as follows:
1. The need levels in learning local literary given by the three groups of informants, including
teachers at Ban Mekdum School, 9th grade students’ parents and local indigenous people, and 9th grade
students at Ban Mekdum School. There were 193 informants in total: 79 of those are males (40.93%),
most of the informants were 10-20 years old (40.41%), completing their education at the lower
secondary school (43%). Most of the informants wanted to maintain local literary learning for future local
culture.
2. Five activities used for the development of local literary learning process were storytelling,
knowledge assets, core competence synthesis, the record result form of after the learning activities, and
lesson distilled.
3. Four main steps of local literary learning process relating to the context and the need of the
community were the study of needs for local literary learning, the design of activity for local literary
learning, process local literary learning, and assessment of the local literary learning process.

Article Details

บท
บทความวิจัย