การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวทางสะเต็มศึกษา

Main Article Content

วรรณภา อ่างทอง
บังอร แถวโนนงิ้ว
ประสาท เนืองเฉลิม

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานตามแนวทางสะเต็มศึกษาให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานตามแนวทางสะเต็มศึกษาให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานตามแนวทางสะเต็มศึกษา จำนวน 8 แผน แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


         ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการที่ผ่านเกณฑ์ประเมินร้อยละ 70 วงจรปฏิบัติการที่ 1 จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 77.78 วงจรปฏิบัติการที่ 2 จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 100

  2. นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านเกณฑ์ประเมินร้อยละ 70 วงจรปฏิบัติการที่ 1 จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 53.84 วงจรปฏิบัติการที่ 2 จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 100

       3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานตามแนวทางสะเต็มศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับ การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก
https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/xecutive_journal/april_june 13/pdf/aw07.pdf
ณัฏติยาภรณ์ หยกอุบล. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. สืบค้นจาก
www.2-feu.ac.th/acad//llrc/lis/jid_inputlist.
รัตน์ดาวัล วรรณปะเถาว์, ประสาท เนืองเฉลิม. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นบูรณากา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียน
การสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 8(3), 137 – 147.
รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). เรียนรู้สภาวะโลกร้อน ด้วย STEM Education แบบบูรณาการ. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). 41(182), 15 – 20.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Diana, L.R. (2014). Integrated STEM Education through Project-asedLearning. STEM Solutions Manager at Learning.com. April, 2012. ny.us/common/pages/Display.Fill.aspx?itemld=16466975>28 January,
Dewey, A.L. (2014). Attitudes, Interest, and Perceived Self-efficacy toward Science of Middle School Minority Female Students : Considerations for their Low Achievement and Participation in STEM Disciplines. Dissertation Ed.D. San Diego : Universityof California, 2013. ed.gov/? id=ED561757>28 January,
โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา. รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. (2559-2561). สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562. จากhttp://www.newonetresult.
niets.or.th/AnnouncementWeb/MainSch/MainSch.aspx. http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/MainSch/MainSch.aspx
วีณา ประชากูล,ประสาท เนืองเฉลิม. (2554). รูปแบบการเรียนการสอน. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 12(2), 313 - 317.
พลศักดิ์ แสงพรมศรี, ประสาท เนืองเฉลิม, ปิยะเนตร จันทร์ถิระติกุล. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และเจตคติต่อการเรียน
เคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9(ฉบับพิเศษ), 401 - 418.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2561). สะเต็มศึกษากับสไตล์การเรียนรู้ตามแนวคิด Kolb. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 11(2).
ราวรรณ์ ทิลานันท์. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน สะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ ทางวิทยาศาสตร์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 12(3), (กันยายน – ธันวาคม)
ปรเมศวร์ วงศ์ชาชม, กัญญารัตน์ โคจร. (2559). การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 10(ฉบับพิเศษ), 463 - 474.
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). 42(186), 3 - 6.
Scott, C. (2012). An investigation of Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM) focused high school in the U.S. Journal of STEM Education.
13(5), 30–39.
Tseng, K., Chang, C., Lou, S. & Chen, W. (2011). Attitudes toward science, technology, engineering and mathematics (STEM) in a project-based learning (PjBL)
environment. International. Journal of Science and Mathematics Education. 23,87 – 102.