การส่งเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ผสมผสาน ด้วยวิธีกรณีตัวอย่างที่ใช้สื่ออินโฟกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโนนเมืองวิทยาคาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปฏิบัติการส่งเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ผสมผสานด้วยวิธีกรณีตัวอย่างที่ใช้สื่ออินโฟกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโนนเมืองวิทยาคาร 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ แบบผสมผสาน ด้วยวิธีกรณีตัวอย่างที่ใช้สื่ออินโฟกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโนนเมืองวิทยาคาร 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการส่งเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ผสมผสานด้วยวิธีกรณีตัวอย่าง ที่ใช้สื่ออินโฟกราฟิกเป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโนนเมืองวิทยาคาร จำนวน 19 คน การดำเนินการแบ่งออกเป็น 4 วงรอบ จากการจัดการเรียนรู้ แบบเผชิญหน้า และแบบออนไลน์ การเก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบบันทึกอนุทิน แบบประเมิน และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านปฏิบัติการส่งเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ผสมผสานด้วยวิธีกรณีตัวอย่าง ที่ใช้สื่ออินโฟกราฟิก มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นการปฏิบัติ ขั้นสังเกต และขั้นการสะท้อนผลการปฏิบัติ ส่งผลให้นักเรียนมีความมุ่งมั่น และตั้งใจ กระตือรือร้นมีความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 2) ระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ แบบผสมผสานด้วยวิธีกรณีตัวอย่างที่ใช้สื่ออินโฟกราฟิกของนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ระดับความพึงพอใจต่อการส่งเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ผสมผสานด้วยวิธีกรณีตัวอย่างที่ใช้สื่ออินโฟกราฟิก ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรพล ปะโสทะกัง. (2558). การพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้วยบทเรียนบนเว็บโดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบ TGT เรื่อง การเขียนโปรแกรม ภาษาซีสําหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสารคามพิทยาคม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นิภา วงษ์สุรภินันท์ (2548). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนสำหรับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอส.พริ้นติ้ง ไทย แฟคตอรี่.
พระมหาธานินทร์ ฐิติวีโร (อินทวี). (2545). การศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายใน โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ. สืบค้นจาก http://www.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=78
ภัทราวิจิตร มณีประเสริฐ. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิฑูรย์ สมะโชคดี.(2542). การเรียนรู้ด้วย “กรณีศึกษา” อย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารบริหารธุรกิจ รังสิต. 1(2), 81- 84.
วิสุทธิพงษ์ ยอดเสาดี. (2553). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ศิริเพ็ญ ภู่มหภิญโญ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อเสริมสร้างการรู้ทางทัศนะและการสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาศิลปศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพิศ มหาโยธี. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจวิชาจิตรกรรม เรื่อง ทัศนธาตุของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยทักษะกระบวนการ 9 ขั้นของกาเย่และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยทักษะปฏิบัติ 5 ขั้นตามแนวคิดของเดวีส์.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สาลินันท์ เทพประสาร มนต์ชัย เทียนทอง และจรัญ แสนราช. (2553). ผลการสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันที่มีระบบสแคฟโฟลด์สนับสนุน. วารสารวิชาการพระจอมเก้าพระนครเหนือ. 20(3), ก.ย.-ธ.ค.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารี พันธ์มณี. (2544). จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์ลิพเพรส.
Atkinson, J.W. (1964). An Introduction to Motivation. New York: VanNostvand.
Kemmis & Mctaggart. (1998). The Action Research Planer (3rd ed.).Victoria: Deakin University.
McClelland, D., Atkinson, J., Clark, R. and Lowell, E. (1953). The Achievement Motive. New York: Appletion Century Crotts. Inc.
Mc Celland David C. (1961). The Achieving Society. Prineton. New Jersey: Van Nostrand.