การศึกษาศักยภาพของชุมชนและกลุ่มทอผ้าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาบ้านหนองเขื่อนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนและกลุ่มทอผ้าบ้านหนองเขื่อนช้าง ในการพัฒนาเป็นหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม และเพื่อเสนอแนวทางในการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนและกลุ่มทอผ้าบ้านหนองเขื่อนช้างเป็นหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ จำนวน 8 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์และตีความข้อมูลที่ได้จากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก สรุปอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์นำเสนอในรูปการบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- บ้านหนองเขื่อนช้างมีศักยภาพเบื้องต้น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านทรัพยากรท่องเที่ยว ประเภทภูมิปัญญาพื้นบ้าน วิถีชีวิตและการประกอบอาชีพ อาชีพหลัก คือ ทำนา อาชีพเสริม ได้แก่ การทอผ้า การเลี้ยงหม่อนไหม เป็นต้น 2) ด้านการเข้าถึงทรัพยากรท่องเที่ยวมีเส้นทางที่เข้าถึงสะดวกปลอดภัย เดินทางได้ด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล และมีเส้นทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกมีครบถ้วนและเพียงพอ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ร้านอาหาร 4) การจัดการท่องเที่ยว มีการวางแผนและดำเนินการโดยผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชุมชน
- แนวทางในการเสริมสร้างศักยภาพ บ้านหนองเขื่อนช้างมีความพร้อมด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวแต่ยังไม่สามารถดำเนินการให้เป็นหมู่บ้านการท่องเที่ยวอย่างครบวงจรได้ ควรเพิ่มศักยภาพโดยเน้นการมีส่วนร่วมจากชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเร่งประชาสัมพันธ์ สร้างเครือข่ายชุมชน หน่วยงานในท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนให้พัฒนาเป็นหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้ยั่งยืนต่อไป
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กิจ วงศรีลคร. ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านหนองเขื่อนช้าง. สัมภาษณ์, 11 ตุลาคม 2562.
ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2556). แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. สืบค้นจาก http://tourism-dan1.blogspot.com.
ทองย้อย ขานหยู่. คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 7. สัมภาษณ์ 11 ตุลาคม 2562.
นำชัย ทนุผล และคณะ. (2543). รายงานผลการวิจัยการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชนบ้านโป่ง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปาริฉัตร สิงห์ศักดิ์ตระกูล และ พัชรินทร์ เสริมการดี. (2556). การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ของชุมชนบ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดนและบ้าน โตนปาหนัน อำเภอกาหลง จังหวัดสตูล. สุทธิปริทัศน์. 27(83), 97 - 112.
พงรัตตา วงศรีลคร. คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 7. สัมภาษณ์, 11 ตุลาคม 2562.
วรรณวิมล ภู่นาค. (2558). ศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน : กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา. Academic Services Journal Prince of Songkla University. 26(1), 63 - 74.
สุมาลี พุ่มโกสุม. นักวิชาการพัฒนาชุมชน. สัมภาษณ์, 11 ตุลาคม 2562.
สุรเชฐ สัจจลักษณ์. (2561). มหาสารคามเชิญท่องเที่ยว 3 หมู่บ้านวัฒนธรรม สัมผัสวิถีชีวิตชาวชุมชน. สืบค้นจาก https://www.77kaoded.com/content/121241
หนูคาย พนอินทร์. ชาวบ้านบ้านหนองเขื่อนช้าง. สัมภาษณ์, 11 ตุลาคม 2562