การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 Developing Mathematics learning Activities Based on the Constructivist Theory Entitled “Fractions” for 6th Grade Education

Main Article Content

เนืองนิตย์ ชาวนาฮี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ ประการที่สอง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนภูฮังวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2552 จำนวน 19 คน การวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวงจรการปฏิบัติ 3 วงจร ดังนี้ วงจรปฏิบัติที่ 1 ประกอบ
ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1-4 วงจรปฏิบัติที่ 2 ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5-10 และวงจรปฏิบัติที่ 3 ประกอบด้วย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11-16 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการ คือ
แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 แผน
2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสะท้อนผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกการสังเกต
พฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนแบบบันทึกประจำวัน แบบฝึกทักษะ
แบบสัมภาษณ์นักเรียน และแบบทดสอบย่อยท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้ คือ แบบ
ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก (B)
อยู่ระหว่าง 0.27 ถึง 0.55 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ 0.84 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการณ์จัดกิจกรรมการ
เรียนรู้มาวิเคราะห์และสรุปเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ได้แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 16 แผน ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกแผน โดยในแต่ละแผนเป็นการจัดกิจกรรมที่มุ่งให้นักเรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตัวของนักเรียนเอง สามารถนำความรู้ที่เรียนในชั้นเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน และมีความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดี รวมทั้งมีการช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ซึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย
กิจกรรม 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนำ เป็นการแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และทบทวนความรู้เดิม 2) ขั้นสอน ประกอบด้วย
1) ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหาและแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล 2) ขั้นไตร่ตรองระดับกลุ่ม 3) ขั้นเสนอ แนวทางแก้ปัญหาต่อชั้นเรียน
3) ขั้นสรุป เป็นขั้นที่นักเรียนร่วมกันสรุปมโนมติเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ในแต่ละชั่วโมง 4) ขั้นฝึกทักษะและการนำไปใช้ เป็นการ
พัฒนาทักษะโดยนักเรียนเข้ากลุ่มย่อยทำบัตรกิจกรรม มีปฏิสัมพันธ์กันในการเรียนรู้ ตรวจสอบคำตอบจากบัตรเฉลย แล้วนำเอา
สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่โดยการทำแบบฝึกทักษะ
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง เศษส่วน มีคะแนนเฉลี่ย
ร้อยละ 82.10 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป จำนวน 17 คนจากนักเรียนทั้งหมด 19 คน คิดเป็น
ร้อยละ 89.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ผลที่ได้ จากการสังเกต การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสัมภาษณ์นักเรียน และการตรวจผลงาน พบว่านักเรียนมีโอกาส
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กันทั้งในและระหว่างกลุ่ม ฝึกการทำงานเป็นทีม กล้าแสดงความคิดเห็น อภิปรายและยอมรับฟัง
ความคิดเห็นของผู้อื่น ได้พัฒนาทักษะทางสังคม และการทำกิจกรรมกลุ่ม นอกจากนี้ยังเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ได้แก่
มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย มีระเบียบวินัย และเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์

The purposes of this study were : 1) to develop 6th grade mathematics learning activities based
on the constructivist theory entitled “Fractions”, and 2) improve learning achievement of the students
based on the standardized criteria of 80 percent of the total students with over 70 percent of the
achievement score. The target group consisted of nineteen 6th grade students at Phu Hang
Witthayakhan school under Kalasin Educational Service Area Office 2 in the second semester of 2009,
selected by the purposive random sampling technique. The action research methodology with 3 action
research cycles was employed for this study. The action cycles consisted of the First Action Research
Cycle of 1st -4th lesson plans, the Second Action Research Cycle of 5th -10th lesson plans, and the Third
Action Research Cycle of 11th -16th lesson plans. Three types of the instruments used in this study were
16 lesson plans, a note-taking form, an observation form, exercises, an interview form, quiz and an
achievement test with the discrimination (B) of 0.27 to 0.55 and the reliability (r) of 0.84. The quantitative
data were analyzed by means of statistical procedures: mean, standard deviation and percentage. The
qualitative data were analyzed and summarized as follows:
The results indicated that the average level of the appropriateness of the total lesson plans was
high. All lesson plans focused on self-study skills, using the knowledge in daily life, problem-solving
skills, including cooperative learning skills. The learning activities consisted of 4 stages: 1) Orientation
and review of previous knowledge, 2) teaching stage consisting of 2.1 a problem-based situation for
individual, 2.2 a group discussion and consideration, 2.3 presentation of problem solutions, 3)
conclusion, and 4) practice and implementation focusing on small group activities and interactive
activities including problem-based activities.
Regarding the Mathematics learning achievement, the finding showed that the average score
of the achievement was 82.10%. The percentage of the students who got over 70 % of the achievement
score was 89.47%, which was higher than the standardized criteria.The study showed that the learning activities provided the students an opportunity to interact,
exchange, and discuss learning experience and idea among groups, and they improved their social
skills, responsibilities, discipline and positive attitudes towards Mathematics learning.

Article Details

บท
บทความวิจัย