การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กรณีศึกษาโรงเรียนแกดำวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 Developing Morality, Ethics and 8 Desirable Characteristics Based

Main Article Content

ทองพูล ภูสิม ทองพูล ภูสิม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ของนักเรียนโรงเรียนแกดำวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัย ครูโรงเรียนแกดำวิทยาคาร จำนวน 23 คน นักเรียนโรงเรียน
แกดำวิทยาคาร 341 คน ผู้ปกครองนักเรียน 319 คน ในปีการศึกษา 2552 มีขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1สำรวจสภาพปัจจุบันระดับพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ของนักเรียนโรงเรียนแกดำวิทยาคาร ระยะที่ 2 พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ของนักเรียนโรงเรียนแกดำวิทยาคาร โดยใช้
กระบวนการวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) และการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ระยะที่ 3 สำรวจระดับพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เพื่อเปรียบเทียบ ก่อน-หลัง การพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า
สภาพก่อนการดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง 8 ประการ ของนักเรียนโรงเรียนแกดำวิทยาคาร พบว่า พฤติกรรมโดยรวมของนักเรียนจากการประเมินพฤติกรรมทั้งจากครู ผู้ปกครองนักเรียน และตัวนักเรียนเองอยู่ในระดับปฏิบัติการปานกลาง จากการสอบถาม การสัมภาษณ์คณะครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนแกดำวิทยาคารเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2551 ของนักเรียน พบว่า ระดับพฤติกรรมยังไม่เป็นไปตามความต้องการของคณะครูและผู้ปกครอง หลังจากที่ได้พัฒนา
โดยใช้กระบวนการวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) และการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ระดับพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เปรียบเทียบก่อนและหลัง
การพัฒนานั้นเพิ่มขึ้นในทุกด้าน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมในแต่ละด้าน ก่อนการพัฒนา มีค่าเฉลี่ย จากครู 3.50
ผู้ปกครอง 3.49 และนักเรียน 3.69 หลังจากการพัฒนา พบว่า พฤติกรรมของนักเรียนมีการพัฒนาขึ้นในทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ย
จากครู 4.49 ผู้ปกครอง 4.48 และนักเรียน 4.49

This study aimed to assess levels of behaviors, and develop morality, ethics and 8 desirable
characteristics based on the 2008 Basic Education Core Curriculum of the students at Kae Dam
Witthayakhan School under Maha Sarakham Educational Service Area Office 1. Research participants
consisted of a researcher, 23 teachers, 341 students at Kae Dam Witthayakhan School in 2009, and
319 parents of the students. The study was divided into 3 phases: 1) contextual study of moral and
ethical behaviors, and 8 desirable characteristics of Kae Dam Witthayakhan School students based on
the 2008 Basic Education Core Curriculum, 2) development of morality, ethics and 8 desirable
characteristics of the students based on the core curriculum by using the quality cycle of Demming’
(PDCA) and participatory action research (PAR), 3) assessment of the levels of moral and ethical
behaviors and 8 desirable characteristics of the students based on the core curriculum by comparing
their behavior between before and after the development.
The study showed that the average level of morality, ethics and 8 desirable characteristics of
Kae Dam Witthayakhan School students before the development assessed by the teachers, parents,
including self assessment of the students was moderate. Moreover, the finding indicated that the
average level of morality, ethics and 8 desirable characteristics of Kae Dam Witthayakhan School
students regarding the requirement of the 2008 Basic Education Core Curriculum was low. The quality
cycle (PDCA) of Demming and the participatory action research were employed for the development of
morality, ethics and 8 desirable characteristics, and the results indicated that the average level of
morality, ethics and 8 desirable characteristics of the students after the development was higher than
that of before the development. The average levels of the behavior assessed by the teachers, parents
and self assessment of the students before the development were 3.50, 3.49 and 3.69 respectively.
Whereas, the average levels of the behaviors assessed by the teachers, parents and self assessment
of the students after the development were 4.49, 4.48 and 4.49 respectively.

Article Details

บท
บทความวิจัย