การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการคูณหารระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านดงเย็น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2; A Study on Mathematics Ach

Main Article Content

เยาวลักษณ์ นาหนองขาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการคูณหารระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และประการที่สอง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการคูณหารระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดงเย็น อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2552 จำนวน 17 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวงจรการปฏิบัติ 3 วงจร ดังนี้ วงจรปฏิบัติที่ 1 ประกอบด้วย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 – 4 วงจรปฏิบัติที่ 2 ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5–8 วงจรปฏิบัติที่ 3 ประกอบด้วย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 – 12 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่
แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา การคูณหารระคน จำนวน 12 แผน แต่ละ
แผนใช้เวลา 1 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู
แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แบบบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบท้ายวงจร
และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
การแก้โจทย์ปัญหาการคูณหารระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์
ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ได้แก่ การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มาวิเคราะห์และสรุปเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า

1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการคูณหารระคน
ได้แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 12 แผน ซึ่งผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
ทุกแผน โดยในแต่ละแผนเป็นการจัดกิจกรรมที่มุ่งให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรอบรู้ ความเข้าใจ
เกี่ยวกับความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียน โดยการให้นักเรียนได้เรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตนเองด้วยวิธีการที่หลากหลาย นักเรียน
ได้ร่วมอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อน ซึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วยกิจกรรม 4 ขั้นตอน
ได้แก่ 1) ขั้นนำ เป็นขั้นเตรียมความพร้อมของนักเรียนโดยการทบทวนความรู้เดิม เพื่อเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ที่จะเรียนต่อไป
2) ขั้นสอน ประกอบด้วย (1) ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหาและแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล (2) ขั้นไตร่ตรองระดับกลุ่ม (3) ขั้นเสนอ
แนวทางแก้ปัญหาต่อชั้นเรียน 3) ขั้นสรุป เป็นขั้นที่นักเรียนร่วมกันสรุปแนวคิด หลักการ ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
4) ขั้นฝึกทักษะ เป็นการตรวจสอบระดับความรู้ของนักเรียนจากการทำแบบฝึกทักษะ ผลที่ได้จากการสังเกต การจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ การสัมภาษณ์นักเรียนและการตรวจผลงาน พบว่า นักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการแก้ปัญหา
และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเพื่อน มีการซักถาม พูดคุย โต้แย้ง มีการช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม ส่งผลให้นักเรียนมี
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ มีความมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออก มีความรับผิดชอบ มีความภาคภูมิใจในตนเอง มีทักษะ
การทำงานกลุ่ม มีความสามัคคี มีระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคม มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้พัฒนาทักษะทาง
สังคม
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เฉลี่ยร้อยละ 77.65 และนักเรียนจำนวนร้อยละ 82.35 ของนักเรียนทั้งหมด
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป

The objectives of this research were 1 to develop mathematics learning activities based on the
Constructivist Theory on the topic of “Solving Mathematical Problems of Combined Multiplication and
Division” for 2nd grade students and 2) improve the achievement in Mathematics of the 2nd grade
students based on the standardized criteria of 70 percent of the total students with over 70 percent of
the achievement score. The target group consisted of seventeen 2nd grade students at Baan Dong Yen
School, Phayakkhaphum Phisai District of Maha Sarakham Educational Service Area Office 2. The
study was conducted in the second semester of the academic year 2009. The research consisted of
three action cycles: the First Action Research Cycle of 1st - 4th lesson plans, the Second Action
Research Cycle of 5th - 8th lesson plans, and the Third Action Research Cycle of 9th - 12th lesson plans.
The instruments used in this study were 12 lesson plans, two sets of an observation form, exercises, a
note-taking form, an interview form, quizzes and an achievement test. The quantitative data were
analyzed by means of statistical procedures: mean, standard deviation and percentage. The qualitative
data were analyzed and summarized as follows:
The results indicated that the average level of the appropriateness of twelve lesson plans was
high. All lesson plans focused on developing self-study skill for the concepts and problem-solving skills
through using problem-based learning activities.The activities provided the students an opportunity to
share and discuss learning experience among their groups. The learning activities consisted of 4
stages: 1) Orientation and review of previous knowledge; 2) Teaching stage consisted of 2.1) a
problem-based situation for individual, 2.2) a group discussion and consideration, and 2.3) presentation of problem solutions; 3) conclusion; and 4) practice for the assessment of knowledge. The finding
showed that the activities provided the students an opportunity to share and discuss learning
experience, and the activities supported collaborative learning skills, develop their desirable
characteristics such as responsibility, self-confidence, free expression, self-esteem, team work skills,
discipline, generosity including social skills.
Regarding the Mathematics learning achievement, the finding showed that the average score
of the achievement was 77.65%. The percentage of the students who got over 70 % of the achievement
score was 82.35%.

Article Details

บท
บทความวิจัย