แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง ประสบการณ์ การทำงานและขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้มีวิธีการดำเนินการ 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 418 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐาน คือสถิติที สถิติเอฟ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน หากพบความแตกต่างวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่โดยวิธีเชฟเฟ่ และระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์ตัวชี้วัดที่มีคะแนนต่ำสุดในแต่ละด้าน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยวิธีการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับสภาพการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบระดับสภาพการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพ และประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนขนาดของสถานศึกษา พบว่า ไม่แตกต่างกัน
3. แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา พบว่า ควรมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน มีการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผล มีวิทยากรให้ความรู้ ดำเนินงานในสถานศึกษาด้วย ความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต ตรวจสอบได้ มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดหลักความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กฤษดา นิ่มทับทิม. (2561). การศึกษาผลการดำเนินงานของสถานศึกษาพอเพียงในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรน์. 5(2), 38-45.
พิชามญฐ์ แซ่จัน. (2561). การหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 14 (2), 33 - 50.
ไพศาล วรคำ. (2561). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: เอทีพีการพิมพ์.
รัตนา หลวงกลาง. (2558). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9 (ฉบับพิเศษ), 589 - 600.
ลวัณรัตน์ ชัยกิจธนาภรณ. (2560). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท.วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏิราชวิทยาลัย. 5 (1), 1 - 16.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2559). รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของสถานศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 28 (1), 140 - 153.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3. (2561). แผนปฏิบัติการประจำปี 2561 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. ขอนแก่น: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟิค จำกัด.