แนวทางการพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ สู่ Thailand 4.0 : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0 และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ แหล่งข้อมูลในการวิจัยมี ดังนี้ 1) แหล่งข้อมูลเอกสาร 2.แหล่งข้อมูลบุคคล ได้แก่ 1) นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน จำนวน 335 คน 2) ผู้บริหารระดับคณะระดับมหาวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 14 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า
- ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0 มี4 ด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านคุณลักษณะที่จำเป็นของผู้เรียนที่สอดคล้องต่อการพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0 1.2) ด้านศักยภาพของอาจารย์ผู้รับผิดชอบและประจำหลักสูตร 1.3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน และ 1.4) ด้านทรัพยากรและแหล่งการเรียนรู้
2. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0 นำเสนอใน 5 ประเด็น ดังนี้ 2.1) หลักสูตรด้านเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ควรเป็นหลักสูตรแบบบูรณาการข้ามศาสตร์หรือสาขาวิชา โดยเน้นการบูรณาการการทำงานร่วมกับการเรียนเพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ การทำงานในสถานประกอบการณ์จริง 2.2) หลักสูตรครุศาสตร์ เป็นหลักสูตรเน้นการบูรณาการการทำงานร่วมกับการเรียนเพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนในการเรียนรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสร้างอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประกอบอาชีพอื่นได้นอกจากการประกอบวิชาชีพครู 2.3) หลักสูตรด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ควรจัดเป็นหลักสูตรแบบโมดุล ร่วมกับหลักสูตรปกติ เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความสนใจและเปิดโอกาสให้บุคลากรในสถานประกอบการได้พัฒนาทักษะที่จำเป็น 2.4) หลักสูตรด้านวิทยาการจัดการเป็นหลักสูตรแบบบูรณาการร่วมกับการมีรายวิชา online ด้านทักษะวิชาชีพ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองในช่วงเวลาว่างระหว่างเรียน 2.5) หลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควรจัดเป็นหลักสูตรแบบโมดุลร่วมกับหลักสูตรปกติ เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความสนใจและเปิดโอกาสให้บุคลากรในสถานประกอบการได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ขวัญเกล้า ศรีโสภา. (2562).การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC พื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู. วารสารวิชาการ เครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 9(2), 93 - 106.
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการ และแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อลีน เพรส.
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ.
ณัฐพร เห็นเจริญเลิศ และคณะ (2559). ขอบแดนใหม่แห่งการเรียนรู้ : การศึกษาระบบ 4.0. กรุงเทพฯ: ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปดิวรัดา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยาและฐิตวีร์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2563). การเรียนการสอนแบบ E-Learning กับการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม Augmented Reality) เป็นสื่อรูปแบบใหม่ทางด้านการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 14(1), 17 - 30.
ปราโมทย์ จันทร์เรือง. (2562).การเสริมสร้างคุณลักษณะความพอเพียง ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตที่เรียนด้วยกระบวนการทำความกระจ่างในค่านิยม. วารสารวิชาการ และวิจัยสังคมศาสตร์. 14(1), 31 - 40.
แผนปฏิบัติราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. (2562). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
พรชัย เจดามานและคณะ. (2559). การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2562.จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/jedaman/2016/12/31/entry-1
ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ. (2559). การศึกษาไทย 4.0: การศึกษา เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ.หนังสือในชุดไพฑูริยะเสวนา ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ภารดี กำภู ณ อยุธยา และธรรมโชติ เอี่ยมทัศนะ. (2563). การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและบทบาทครูในสังคมแห่งความรู้. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 15(1), 1 - 16.
ภักดี รัตนมุขย์. (2561). Thailand 4.0? ตอบโจทย์ประเทศไทย กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ศราธรณ์ หมั่นปรุ และสุภาวดี ในเสนา. (2562). กลวิธีการสอนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมการฟัง พูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาต่างประเทศในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 9(2), 1 - 16.
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิรูปอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุเพื่อพัฒนาสมรรถนะกําลังคนรองรับโลก ศตวรรษที่ 21 (ฉบับสรุป). กรุงเทพฯ : สํานักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา.
อุตสาหกรรม, กระทรวง. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579). กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3) :607 – 610.
Saylor, J.G. and Alexander, W.M. and Lewis, A.J. (1981). Curriculum Planning for better Teaching and Learning.4thed. New York: Holt, Rinehart & Winston.
Wiles, J., and Bondi, J. (1998). Curriculum Development :A Guide to Practice.5th ed. N.Y.: Macmillan.