การเข้ารหัสธรรมนิเทศและการถอดรหัสของวัยรุ่น : กรณีศึกษาพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธีและพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต

Main Article Content

กุลธิดา ภูมิเหล่าแจ้ง
รอบทิศ ไวยสุศรี
สมสุข หินวิมาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาการเข้ารหัสการสื่อสารของพระนักเทศน์มีการปรับตัวด้านการสื่อสาร
ต่อวัยรุ่น และ 2) เพื่อศึกษาการถอดรหัสของวัยรุ่นที่มีต่อการสื่อความหมายของพระนักเทศน์ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารเพื่อ
ให้สอดคล้องกับวัยรุ่นในปัจจุบันศึกษาการปรับตัวในการสื่อสารของพระนักเทศน์ต่อวัยรุ่นจำนวน 2 ท่าน วัยรุ่นจำนวน 3 กลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า
การเข้ารหัสธรรมนิเทศของพระนักเทศน์จะต้องออกแบบสารด้วย ประเด็นเนื้อหาให้สอดคล้องกับหัวข้อและผู้รับสารที่เป็นวัยรุ่น
เพื่อให้เข้าถึงวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางด้านต้นทุนทางธรรมะ ภาษาที่เข้าใจง่ายต่อการทำความเข้าใจ และเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ทัน
สมัยและน่าเบื่อ การแสดงออกทางอวัจนภาษา มีความสำรวมในสมณะเพศ และลีลาในการบรรยายให้เกิดอารมณ์ร่วมในการบรรยาย
ธรรมะ การใช้รูปแบบเข้าใจง่ายสื่อที่ความความหลากหลายเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นได้อย่างทั่วถึง
การถอดรหัสของวัยรุ่นที่มีต่อการสื่อความหมายของพระนักเทศน์จำเป็นนั้น เพศ อายุ การศึกษา และลักษณะทางครอบครัว และ
บุคคลที่ใกล้ชิดและประสบการณ์ทางศาสนา ไม่ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างนั้นมีความสนใจ และไม่สนใจนั้นต่างกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ บุคคล
ที่ใกล้ชิดและประสบการณ์ทางศาสนา นั้นทำให้ต้นทุนทางธรรมะของแต่ละคนไม่เท่ากัน และวัยรุ่นเห็นสมควรกับการเปลี่ยนแปลงรูป
แบบที่ทันสมัยและยังคงแก่นของพระพุทธศาสนาคงเดิม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กาญจนา แก้วเทพ และคณะ . (2554).สื่อเก่า สื่อใหม่ ใจเชื่อมร้อย . สถานที่พิมพ์ :สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.).
[2] กาญจนา แก้วเทพ และและทิฆัมพร เอี่ยมเรไร. (2554). สื่อ ศาสนา กีฬา.กรุงเทพมหานคร:โครงการเมธีวิจัยอาวุโสฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.).
[3] กิตติ กันภัย. (2542).สื่อกับศาสนา โลกของสื่อ ลำดับที่ 3.กรุงเทพมหานคร:.พี.พริ้นท์.
[4] พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตโต). (2551).พุทธวิธีในการสอน.กรุงเทพมหานคร:สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.
[5] พระ ว.วชิรเมธี. (2552).ธรรมะหลับสบาย. (พิมพ์ครั้งที่ 30).กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ อมรินทร์..
[6] เบญจพร ปัญญายง และคณะ. (2553). โครงการการทบทวนองค์ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น..กรุงเทพมหานคร:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)..

[7] ประพันธ์ เวชชาชีวะ. (2558,มกราคมวันที่ 20).วัยรุ่นกับปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันและอนาคต.แนวหน้า,หน้า 7.

[8] กรกนก กลมรัตน์. (2550). บทบาทของอินเตอร์เน็ตในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสำหรับเด็กและเยาวชน ศึกษาเฉพาะกรณีเว็บไซต์พลังจิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
[9] กสิณเทพ คุณาเจริญ. (2546). วิเคราะห์เนื้อหารายการ”ตามหา...แก่นธรรม”. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
[10] จิราพร เนติธาดา. (2553). วิธีการถ่ายทอดธรรมะของหลวงพ่อชา สุภัทโท. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

[11] ชลธิชา ชูชาติ. (2546). กระบวนการสร้างสารของพระมหาสมปอง ตาลปุตโต ในรายการธรรมะเดลิเวอรี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

[12] ช่อฟ้า เกตุเรืองโรจน์. (2553). กระบวนการและกลวิธีการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดพุทธธรมในหนังสือธรรมะของท่าน ว.วชิรเมธี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
[13] ฌุมพรี เหล่าวิเศษกุล. (2547). การศึกษากลไกภาษาเทศนาของพระปัญญานันทภิกขุและพระพยอมกัลยาโณ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

[14] ทัศนีย์ เจนวิถีสุข และคณะ. (2548). ความสามารถด้านการสื่อสารของพระพิศาลธรรมพาที(พระพยอมกัลยาโณ) กับการระดมพลังการพัฒนาชุมชน. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)).สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.). กรุงเทพมหานคร.

[15] ปนัดดา นพพนาวัน. (2543). ปรัชญาการสื่อสารในธรรมสารของพุทธทาสภิกขุ . (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

[16] พุฒิรัตน์ กมลชัยสกุล. (2550). รูปแบบการสื่อสารธรรมะเพื่อเยาวชนผ่านเว็บไซต์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.