การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และ3) เพื่อทดลองและประเมินผลการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากร คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ของ Taro Yamane จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบการสุ่มตามระดับชั้น อย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และใช้รูปแบบการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรมลิสเรล กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรสาเหตุ จำนวน 8 ปัจจัยสาเหตุ ตัวแปรตาม คือ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ระยะที่ 2 เป็นการสร้างรูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน จำนวน 30 คน ใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการวิจัยในระยะที่ 1 มาเป็นประเด็นในการพิจารณาสร้างรูปแบบการพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการประชุมกลุ่มย่อย และการระดมความคิดเห็นในที่ประชุมใหญ่ นำรูปแบบที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนา และระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน กลุ่มทดลอง คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หมู่บ้านจอมศรี หมู่ที่ 14 ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 50 คน ระยะเวลาในการทดลอง จำนวน 3 เดือน ประเมินผลการทดลอง โดยการเปรียบเทียบผลการทดลองก่อนและหลังการทดลอง ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรตามแบบวัดซ้ำ กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า
- ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในจังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างมีระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05 ประกอบด้วย 3 ตัวแปร เรียงตามลำดับอิทธิพลได้ดังนี้ 1) ความสนใจทางการเมืองมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวม เท่ากับ 0.61 2) ความเชื่อในประสิทธิภาพทางการเมืองมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวม เท่ากับ 0.18 และ 3) สภาพแวดล้อมทางการเมือง มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวมเท่ากับ 0.10
- รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน จาก 3 ตัวแปรสาเหตุ จำนวน 9 กิจกรรม ดังนี้ 1) บทบาทหน้าที่พลเมือง 2)การศึกษาดูงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเมือง 3) การสร้างทัศนคติต่อประชาธิปไตย 4) แรงจูงใจทางการเมือง 5) พรรคการเมือง 6)สิทธิหน้าที่ของสมาชิกพรรคการเมือง 7) พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องพรรคการเมือง 8) ข่าวสารทางการเมือง และ 9) การระดมความคิด หลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ประชาชนในกลุ่มทดลอง มีการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมือง มีความสนใจทางการเมือง มีความเชื่อในประสิทธิภาพทางการเมือง และมีความเข้าใจสภาพแวดล้อมทางการเมือง เพิ่มขึ้น กว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
[2] Election Commission of Kalasin Province.(2014). Election Results. Kalasin :Election Commission of Kalasin Province.
[3] Yamane, Taro.(1973). Statistics : An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.
[4] Rungson Singhalert.(2015). Social Science Research. Mahasarakham: Rajabhat Mahasarakham University.
[5] Cook,T.D. and Campbell, D.T. .(1997). Quasi Experimentation :Design and Analysis for FleldSetting. R and McNally Chicago :Lllinois.
[6] Narong Sinsawad. (1983). Rural Employment Generation Program in 1981and Temporary Migration in the Northeast. Population and Development in Thailand,
[7] Campbell, A., P. E. Converse, W. E. Miller & D.E. Stokes .(1964). The American Voter. New York: John Willey & Sons.
[8] Kamom Somwichien. (1973). Democracy and Thai Society. Bangkok : Thai Wattanapanich Co., Ltd.
[9] Milbrath, Lester W. (1965).Political Participation: How and Why Do People Get Involved in Politics. Chicago: Rand Mc.Nally & Company.
[10] Dahl, Robert A.(1971). Polyarchy: Participation and Opposition. New Haven : Yale University Press.
[11] Sitthiphan Phutthahun. (1998). Political and Ethical Theory. Bangkok : Ramkhamhaeng University Press.