พฤติกรรมและบทบาทการสื่อสารของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่บ้านอีสานตอนกลาง

Main Article Content

ปิญาภรณ์ พงศ์ศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์พฤติกรรมและบทบาทการสื่อสาร ตลอดจนเครือข่ายการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล
ของผู้สูงอายุ 2) วิเคราะห์ลักษณะพฤติกรรมการสื่อสารและการเป็นผู้นำในการสื่อสารของผู้สูงอายุในชุมชนอีสานตอนกลาง 3) วิเคราะห์
บทบาทการสื่อสารในการถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้านและวัฒนธรรมท้องถิ่นของผู้สูงอายุและ 4) วิเคราะห์สถานภาพความเป็นผู้
สูงอายุจากการรับรู้ตนเองของผู้สูงอายุและจากการรับรู้โดยบุคคลอื่นๆในชุมชน การศึกษาใช้วิธีการวิจัยแบบสหวิธีวิทยาการ ประกอบ
ด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพคือ การเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ผู้สูงอายุเชิงลึก ในชุมชนหมู่บ้านอีสานตอนกลาง หมู่บ้านล่ะ 3 คน จำนวน 3
หมู่บ้าน ใช้สัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ใช้แจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างผู้
สูงอายุในชุมชนหมู่บ้านอีสานตอนกลาง 3 หมู่บ้าน จำนวน 311 คน ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมการ
เปิดรับสารโดยเปิดรับจากสื่อดั้งเดิมผ่านวิทยุและโทรทัศน์เป็นส่วนใหญ่และมุ่งให้ความสนใจเปิดรับข่าวสาร บันเทิงเป็นส่วนมาก มีการ
เปิดรับสื่อใหม่น้อยมาก แต่ก็พบว่า มีการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ในกลุ่มผู้สูงอายุพอสมควรโดยเฉพาะแม่บ้านมีการติดต่อสื่อสารผ่านเครือ
ข่ายการสื่อสารระหว่างบุคคลกับคนในครอบครัวมากที่สุด 2) ผู้สูงอายุในหมู่บ้านยังให้ข้อมูลว่ามีคนจำนวนมากมักมาขอคำปรึกษาหารือ
ในเรื่องต่าง ๆ 3) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีบทบาทการสื่อสารในการถ่ายทอดภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม และคุณธรรม ศีลธรรม แต่ก็อยู่
ในระดับไม่มากนักโดยมีบทบาทด้านศิลปะ วัฒนธรรมด้วยค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านอื่นๆ และมักมีบทบาทเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมทำนุ
บำรุงศาสนาอย่างสมํ่าเสมออยู่ในเกณฑ์ปานกลาง 4) ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยมองสถานภาพความเป็นผู้สูงอายุของตนเองในทางบวก
โดยคิดว่าในความเป็นผู้สูงอายุของเขาในชุมชนนั้น เขาเป็นคนเก่าแก่ที่เป็นผู้อาวุโสและเป็นภูมิปัญญาของหมู่บ้าน ถัดมามองตนเองว่า
เป็นที่พึ่งพาของคนอื่นๆในชุมชนหมู่บ้านเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Boone, L. E. & Kurtz, D. L. (1995). Contemporary
marketing. (8th ed.). Unites States. The Dryden
Press Harcourt Bruce College Publishers.
[2] Klapper, J. T. (1960). The Effects of Communication.
New York : Free Press.
[3] Katz, E., Blumler, J. G., &Gurevitch, M. (1974). Uses
and gratifications research. Retrieved from http://
www.jstor.org/stable/2747854?seq=1#page_scan_
tab_contents.
[4] Kirana Somwatsawan. (2016). The Study of
Communication Behavior in Line Application Data
Sharing of Elderly People. Master of Arts Program
in Communication Arts and Innovation, Faculty
of Communication Arts and Management
Innovation, National Institute of Development
Administration.
[5] Tiranan Anawatsiriwong. (1999). Communications
Behavior. “Communications Network”. Bangkok,
Odeon Store Printing.
[6] Peera Jirasophon.(2005). Communications Arts
Philosophy and Communications Theories Unit 10
“Theories of Journalism” Subject No.10.2.2 The
Two-Step Flow Theory,Sukhothai Thammathirat
Open University Printing.
[7] Chaiyasit Dumrongwong. (2010). Importance of the
Reed Organ in the Rituals of the People of Ban
Nong Ta Ki, Si Keaw Sub-District, Muang District,
Roi-Et Province. Research ; Roi-Et Province
Cultural Office, Muang District, Roi-Et Province.