การศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี

Main Article Content

พระประเสริฐศักดิ์ ธีรธมฺโม (เลาหะปาเลศ)

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษา
พุทธกิจ 5 ประการ 2) เพื่อศึกษาพุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในเมืองสาวัตถี 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจในการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารที่เป็นตำรา
บทความเชิงวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์แล้วสรุปผลวิจัยนำเสนอตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า
1. พระพุทธเจ้าทรงประสบผลสำเร็จอย่างสูงในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการวางรากฐานในการเผยแผ่โดยการบำเพ็ญพุทธ
กิจประจำวัน 5 ประการในทุก ๆ วัน เพราะทรงมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเผยแผ่พระศาสนา มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบและมี
ประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการในด้านเวลา บุคลากร และองค์กรซึ่งทรงบำเพ็ญควบคู่กันไป พระพุทธองค์ทรงบริหาร
จัดการได้อย่างสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธกิจประจำวันทั้ง 5 ประการ จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักและแผ่ขยายออก
ไปในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียได้นั้น เพราะเป็นผลสำเร็จที่เกิดจากการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันที่มีประสิทธิภาพนี้เอง
2. พระพุทธเจ้าทรงเป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทธกิจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้ง 5 ประการ
นั้น เป็นแบบอย่างที่ทรงคุณค่า ซึ่งเราสามารถนำเอารูปแบบ วิธีการ หลักธรรม มาใช้เป็นหลักควบคู่กันไปได้อย่างกลมกลืนในการ
ดำเนินชีวิตประจำวัน และในการดำเนินงานในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของการทำงานและการดำเนินชีวิตมีความราบรื่น
มีระเบียบวินัย สามารถพัฒนาจิตใจและแก้ปัญหาได้ด้วยสันติวิธี
3. พุทธกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีนั้น กล่าวได้ว่า ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง อันเป็นผลมาจากการทรง
งานในหลาย ๆ ด้าน เช่น การเผยแผ่ การบริหารและการกำกับดูแลคณะสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบริหารจัดการด้านเวลาได้อย่างลงตัว
โดยทรงบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันเป็นงานหลัก และทรงงานด้านต่าง ๆ ควบคู่กันไป กล่าวคือ ทรงบริหารจัดการงานหลักและงานรอง
ได้อย่างสอดประสานกันลงตัว ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีพุทธบริษัท 4 บรรลุ
ธรรมมากมาย จึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งพระอรหันต์ และสาวัตถีเป็นเมืองศูนย์กลางของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Mahamakut Buddhist College Foundation. (1982).
Buddhist Scriptures and Commentary, Thai
Language, book. 91 (Wi. M. 6/7/29). Bangkok :
Mahamakut Buddhist College.
[2] Mahamakut Buddhist College Foundation. (1982).
Buddhist Scriptures and Commentary, Thai Lan
guage, Book91. (Wi. M. 6/7/32).Bangkok:Mahamakut
Buddhist College.
[3] Songvit Kaeosri. (2007). An Analytical Study of the
Buddha’s Strategy in the Propagation of
Buddhism. Thesis Submitted in Partial
Fulfillment of The Requirement for the Degree
of Doctor of Philosophy (Buddhist Studies) Graduate
School, Mahachulalongkornrajavidyalaya
University Bangkok, Thailand: