ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

วราพร ลาวงศ์
เสาวลักษณ์ นิกรพิทยา
วิทยา เจริญศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม 2) เปรียบเทียบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำแนกตาม
เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอายุงานที่แตกต่างกันและ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสาย
สนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 205 คน
ได้มาโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิด
มาตราส่วนประมาณค่า (Ratting Scale) มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.933 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย
และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test (Independent Sample) และ F-test (One Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อ
พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับความสำคัญค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านสภาพการ
ทำงาน รองลงมา ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ด้านความพึงพอใจในการทำงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน และด้านเงินเดือน
และสวัสดิการ
2. ผลการเปรียบเทียบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามจำแนกตามเพศ
อายุและอายุงาน พบว่า มีขวัญกำลังใจที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมพนักงาน
สายสนับสนุนที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีขวัญกำลัง
ใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงานด้านความพึงพอใจในการทำงานและด้าน
เงินเดือนและสวัสดิการ
3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า พนักงาน
สายสนับสนุนมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ
รองลงมา ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านความพึงพอใจในการทำงานด้านความสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน และด้านสภาพการทำงาน
พนักงานสายสนับสนุนภายในมหาวิทยาลัยมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก
แต่ยังต้องการให้ผู้บริหารได้มีการส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไขให้ดีมากยิ่งขึ้น ในเรื่องของการเพิ่มเงินเดือนและสวัสดิการที่ยังไม่เพียงพอ
ต่อจำนวนพนักงาน เช่น บ้านพัก ค่าศึกษาบุตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Office of Standards and Quality Assurance. (2013).
Self Assessment Report. Mahasarakham : Office
of Standards and Quality Assurance, Rajabhat
Maha sarakham University.
[2] Sanya Kenaphoom. (2015). “The Research Conceptu
al Framework Establishment by the Grounded
Theory”. VRU Research and Development Journal,
Humanities and Social Science, 10 (3), September-
December.
[3] Thongchai Santiwong. (1996). Personnel
management. Bangkok: Thai WattanaPanich
[4] Preeyaporn Wonganutrohd. (1998). Psychology of
Human Resource Management. Bangkok : Media
Center.
[5] Maneerat Seangklar. (2013). A Motivation to Happy-
Working Performance of the Rajabhat Mahasara
kham’s Staffs. Master of Political Science
Independent Study :RajabhatMahasarakham
University.
[6] Phatcharee Srisong. (1991). Mental health problems
in the organization. Bangkok : Prasarnmid Printing
house
[7] Chatree Chaknarriai. (2015). Factors influencing
organizational engagement of personnel,
Rajabhat Mahasarakham University. Master of
Public Administration Thesis : Rajabhat Maha
sarakham University.
[8] Sanya Kenaphoom. (2014A). “Research Philosophy;
Qualitative : Quantitative”. Journal of Political
Science and Law Kalasin Rajabhat University, 3
(2), 49-51.
[9] Sanya Kenaphoom. (2014B). “Establish the Research
Conceptual Framework in Public Administration
by the Rational Conceptual thinking”, 16 (1), 1-9.
[10] Sanya Kenaphoom. (2014C). “A Creation of a Re
search Conceptual Framework for Public
Administration by Knowledge Management
Methodology” Journal of Humanities and Social
Sciences, Ubon Ratchathani University, 5 (2) ,
13-32.
[11] Sanya Kenaphoom. (2014D). “The creating of
Quantitative Research Conceptual Framework of
Public Administration by Literature Review”.
UdonthaniRajabhat University Journal of
Humanities and Social Science, 3 (1): January-June
2014.
[12] Sanya Kenaphoom. (2013). The Creating Of The
Survey Research Conceptual Framework On
Public Administration. ValayaAlongkorn Review,
3 (2) : July-December 2013, 3 (2), 169-185
[13] Sanya Kenaphoom. (2014จ). The Writing Format
of Research Conceptual Frameworks on
Management. Rajabhat Maha Sarakham
University Journal (Humanities and Social
Sciences), 8(3) : September-December 2014, 33-34.
[14] Jessadarn Ranong. (2006). Expected roles and
actual rolesof Advisors as perceived by under
graduate students, Faculty of Political Science,
Thammasat University. Bangkok : Thammasat
University.
[15] SunanthaPhongprasertsri. (2007). Working
Incentives of Sopportive Personnel at Rajabhat
Maha Sarakham University Mahasarakham
Province. Master of Public Administration Thesis
: Rajabhat Maha Sarakham University.