การประเมินโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)ในการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ญาณภัทร สีหะมงคล
ลัดดา สำรองพันธ์

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อประกอบการตัดสินใจ สำหรับการปรับปรุง
และพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) 2) ศึกษาแนวทางการดำเนินงานโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสาธิต
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้บริหาร 2 คน ครูผู้สอน 8 คน อาจารย์มหาวิทยาลัย 3 คน
และนักเรียน 63 คน รวมทั้งสิ้น 76 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ .34-.76
มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ
วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ตามความคิดเห็นของผู้
บรหิ าร และผสู้ อน โดยภาพรวมทงั้ 3 ดา้ น อย่ใู นระดับเหมาะสมมาก เมื่อพจิ ารณาเปน็ รายด้าน พบวา่ ดา้ นปจั จยั การดำเนินงาน มีความ
เหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยผู้สอนมีวุฒิการศึกษาตรงกับวิชาที่สอน มีความรู้ความสามารถทางวิชาการสูง การคัดเลือกนักเรียนใน
โครงการมีมาตรฐาน มีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอสำหรับการจัดการเรียนการสอน มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีแผนปฏิบัติ
งานและนโยบายการบริหารโครงการชัดเจนและปฏิบัติได้ ด้านกระบวนการมีการดำเนินการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
การนิเทศติดตามอย่างเป็นระบบและการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ ด้านผลลัพธ์ นักเรียนมีความรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด มีทักษะใน
การคิดวิเคราะห์ มีศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นนักวิจัยที่มีคุณภาพและเกิดเครือข่ายการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ
2. แนวทางการดำเนินงานโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จากข้อมูลย้อน
กลับ พบว่า ควรมีการพัฒนาอาจารย์ผู้สอน เพื่อเพิ่มเทคนิคและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และฝึก
ปฏิบัติในห้องทดลองมากขึ้น การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ควรเน้นทั้งความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
โดยให้นํ้าหนักความสำคัญกับการประเมินระหว่างเรียน (Formative Assessment) มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และเป้าหมายของโครงการ การจัดระบบการเข้าสอนของอาจารย์ควรมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Ministy of Science and Tecnology. (2007). The
project supports the establishment of science
classrooms in schools by Supervision of
University. 5 November 2016from :http://www.
ops.go.th/main/index.php/aboutus/93-keyprojects/
146-scius
[2] Sumrarn Meejeang. (2015). Educational Project
Evaluation: Theory and Practice. Bangkok :
Chulalongkorn University.
[3] Yoawadee RarngchaikulWiboonsri. (2010).
Assessing Projects : Concepts and Practices.
7th ed. Bangkok.
[4] Sirichai Karnjanawasee. (2009). Evaluation theory.
7th ed.Bangkok : Chulalongkorn University.
[5] Stufflebeam, D.L. and Shinkfield, A.J.(2007).
Evaluation Theory, Models and Applications.
SanFrancisco. CA : John Wiley and Sons.Inc.
[6] Ministry of Education. (2008). Core Curriculum Basic
Education 2008. Bangkok : Agricultural
Cooperatives of Thailand.