การพัฒนาชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) รูปแบบของชุมชนต้นแบบในการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง 2 )แนวทางใน
การพัฒนาสู่การเป็นชุมชนต้นแบบ และ 3) ปัจจัยสนับสนุนที่นำไปสู่ความสำเร็จ กรณีศึกษาบ้านปลาบู่ ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม
จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ตัวแทนจาก ผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กรชุมชน เครือข่ายจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสังเกต สัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบชุมชนต้นแบบของบ้านปลาบู่ ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวคิดในการดำเนินชีวิต บนความจำเป็นขั้นพื้น
ฐานของมนุษย์ “ปัจจัยสี่” และได้พัฒนาโดยมีความพอเพียงที่ครอบคลุมทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ความพอเพียงระดับครัวเรือน (การบริโภค
เท่าที่จำเป็นตามความต้องการ การลดรายจ่าย การทำบัญชีครัวเรือน นั่นคือ สามารถพึ่งตนเองได้) ความพอเพียงระดับชุมชน (การรวม
กลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ร่วมกัน ในการพัฒนาอาชีพ/ลงทุน ร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน) และ
ความพอเพียงในระดับที่สร้างเครือข่ายร่วมกับองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
2. แนวทางการพัฒนาสู่ชุมชนต้นแบบ ประกอบด้วย การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำและชุมชนท้องถิ่น กิจกรรมสนับสนุนปัจจัย
ในการดำรงชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างโอกาสในการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่
3. ปัจจัยสนับสนุนที่นำไปสู่ความสำเร็จ ได้แก่ การมีผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน การเป็นองค์กรชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
และการเป็นหุ้นส่วนในการทำงานร่วมกับองค์กร/เครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Development Board. (2017). The Twelfth National
Economic and Social Development Plan (2017-
2021). Retrieved March 3, 2017 from http://www.
nesdb.go.th /download Plan.
[2] Office of the National Economic and Social
Development Board. (2014). The Sufficiency
Economy Philosophy. 4th ed. Bangkok: Office of
the National Economic and Social Development
Board.
396 ว.มรม. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2561
RMU.J. 12(2) : May - August 2018
[3] The Chaipattana Foundation. (2007). Sufficiency
Economy and the New Theory. Bangkok : Amarin
Printing & Publishing Public Co., Ltd.
[4] Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand.
(2017). Sufficiency Economy Philosophy : Thai
land's Path towards Sustainable Development
Goals. 2nd ed. Bangkok : Bangkok Post.
[5] Community Development Department. (2012). A
Guide to Implementation of the Sufficiency
Economy Village Project/Prototype. 2 nd ed.
Bangkok : Community Strengthening Office
Department of Community Development Ministry
of the Interior.
[6] Sirikorn Boonsang, Wannasa Sanlum, Nutta
Monthon, & Nittaya Prukratok. (2017). A
Community Model Development Applying the
Idea of Sufficiency Economy for Happiness
Community. NRRU Community Research Journal.
11(2), 9-20. U
[7] Prasarn Boonserm. (2012). Sufficiency Economy:
Development Science. Executive Journal. 32(3),
40-47.
[8] Benjawan Ubonsri, & Apaporn Pannun. (2013). A
Study of Applying Sufficiency Economy to
Lifestyles and Use of Resources at Community
Levels. Procedia Environmental Sciences. 17, 976-
983.
[9] Aree Naipinit, Thongphon Promsaka Na Sakolnakorn,
& Patarapong Kroeksakul. (2014). Sufficiency
Economy for Social and Environmental Sustain
ability : A Case Study of Four Villages in Rural
Thailand. Asian Social Science. 10(2), 102-111.
[10] Nattachai Juntachum, Metta Kengchuwong,
Wanchanok Juntachum, & Sakda Namyota. (2015).
A research report of Quality Development of
Community Organization Council to Community
Self-Management : A Case Study at Sub-District
Lao Community Organization Council, Kosum
Phisai District, Maha Sarakham Province. Maha
Sarakham : Rajabhat Maha Sarakham University.
[11] Office of the Permanent Secretary for Interior.
(2017). SEP ; Way of Life: The Philosophy of
Sufficiency Economy is a way of life. Bangkok :
Denex Inter Corporation Co., Ltd.
[12] Suthep Ploiplaikaew, Nitta Roonkasem, Oranut
Pachu, & Sakchai Pattra. (2013). The self-health
Care Development Model of a community in
Lopburi Province. Journal of the Royal Thai Army
Nurses. 14(1), 61-70.