อิทธิพลของบรรยากาศองค์กร ที่มีต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน และผลการปฏิบัติงาน ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสายการบินไทยไลอ้อนแอร์

Main Article Content

สุภัทรา สงครามศรี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย อิทธิพลของบรรยากาศองค์กร ที่มีต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน และผลการปฏิบัติงาน ของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน
ในสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาระดับบรรยากาศองค์กร คุณภาพชีวิตในการทำงาน และผลการปฏิบัติงาน ของ
บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ (2) ศึกษาอิทธิพลของบรรยากาศองค์กร ที่มีต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน และผล
การปฏิบัติงาน ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ ในแบบจำลองกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธี
การสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จำนวน 440 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ตั้งแต่
เดือน มิถุนายน 2559 ถึงสิงหาคม 2559 และได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 350 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับคืน (Response
rate) ร้อยละ 79.54 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม LISREL โดยใช้เทคนิคสถิติ Structural Equation Modeling (SEM)
ผลการวิจัยพบว่า (1) บรรยากาศองค์กร คุณภาพชีวิตในการทำงาน และผลการปฏิบัติงาน ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสายการบิน
ไทยไลอ้อนแอร์ อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวม รายด้าน และรายข้อ (2) บรรยากาศองค์กร มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิต
ในการทำงาน (0.96) ผลการปฏิบัติงาน (0.49) และคุณภาพชีวิตในการทำงาน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงาน (0.25)
นอกจากนี้ ผลการปฏิบัติงาน ยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากบรรยากาศองค์กร (0.24) ผ่านคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่ระดับนัยสำคัญ
ทางสถิต .01 (3) แบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความกลมกลืนทั้ง 6 ดัชนีที่ผ่านเกณฑ์
การยอมรับ คือค่าดัชนี c2/df = 0.84, CFI = 1.00, GFI = 0.98, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.000 และ SRMR = 0.015

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2559
จาก http://www.ryt9.com/tag/ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
[2] วัชระ เลิศพงษ์วรพันธ์ (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการ
ปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายบริหารบุคลากรของบริษัทสาย
การบินแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
[3] Dessler, G. (2005). Human Resource Management
(10th Ed.). New Jersey : Pearson
[4] กรรณิกา เทพนวล. (2552). คุณภาพชีวิตในการทำงาน
กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สาย
สนับสนุนการสอนมหาวิทยาลัยราษภัฎวไลยลงกรณ์ใน
พระบรมราชนูปถัมภ์. การค้นคว้าอิสระ กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.[5] Robbins, S. P. (2005). Organizational behavior :
Concepts, controversies, and applications
(11th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
[6] ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงาน
บุคคล. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ
[7] วิกิพีเดีย. (2559). ไทยไลอ้อนแอร์. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2559
จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ไทยไลอ้อนแอร์
[8] Joreskog, K.G. and Sorborn, D. (1996). LISREL.8 :
User’s Reference Guide. IL. Scientific Software
International Inc.
[9] Stringer, R. (2002). Leadership and Organization
Climate. New Jersey : Person Education. Inc.
[10] Walton, R.E ( 1974 ). Quality of working life :
what is it ?. Stone Management Review, 15
pp.12-16
[11] Mathis, R. L. and J. H. Jackson, (2003) Human
Resource Management. 10th edition, Cincinnati,
OH : South-Western College Publishing.
[12] สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และ รัชนี
กูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย
ทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้
โปรแกรม LISREL. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เจริญดี
มั่นคงการพิมพ์.
[13] กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ สถิติสำหรับ
การบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : ภาควิชา
สถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
[14] Litwin, G., & Stringer, R. (1968). Motivation and
Organizational Climate. Massachusett : Havard
University Press.
[15] พฤฒิพงษ์ ศิริสาคร (2550). ความสัมพันธ์ระหว่าง
บรรยากาศภายในองค์การกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน.
การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[16] Cole, D. C., Robson, L. S., Lemieux-Charles,
L.,McGuire, W., Sicotte, C., & Champagne, F.
(2005). Quality of working life indicators in
Canadian health care organizations: a tool for
healthy, health care workplaces?. Occupational
medicine, 55(1), 54-59.
[17] Sirgy, M.J., Efraty, D., Siegel, P., & Lee, D.J. (2001).
A new measure of quality of work life (QWL)
based on need satisfaction and spillover theories.
Social Indicators Research, 55(3), 241-302.
[18] ชุลีพร เพ็ชรศรี (2556). คุณลักษณะของผู้ตามและ
บรรยากาศองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติ
งานของพนักงาน. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[19] Ojojuku, R. M. (2013). Effect of Performance
Appraisal System on Motivation and performance
of Academics in Nigerian Public Universities.
Australian Journal of Business and Management
Research, 3(03), 20-28.
[20] Atmojo, M. (2015). The influence of transformational
leadership on job satisfaction, organizational
commitment, and employee performance. Inter
national research journal of business studies, 5(2).
[21] Hackman, R. J., & Suttle, L. J. (1977). Improving
Life at Work ; Behavioral Science Approach to
Organization Change. Santa Monica. Calif : Good
year Publishing.
[22] ณัฏฐรินีย์ พิศวงษ์ (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพ
ชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน : กรณี
ศึกษา พนักงานธนาคารออมสิน ภาค 1. การศึกษาอิสระ
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
[23] Anjani. N. (2010). Constructs of Quality of Work
Life-A Perspective of Textile and Engineering.
Asian Journal of Management Research, 1(1).