วุฒิภาวะทางอารมณ์กับการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับวุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้น
พื้นฐาน 2) ศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างระดับวุฒิภาวะทางอารมณ์กับระดับการเลือกใช้วิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้น
ฐาน จังหวัดมหาสารคาม จำนวนทั้งสิ้น 587 คน โดยประมาณขนาดตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้จำนวน 234 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีสองส่วนส่วนแรกเป็นแบบประเมินวุฒิภาวะทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต ในส่วนที่สอง
เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวของโทมัส - คิลแมนน์ ซึ่งเป็นมาตราส่วน
ประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.933 แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลระดับความคิดเห็นโดยใช้สถิติพื้นฐาน เพื่อหาค่าร้อย
ละของคะแนนเฉลี่ย สว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นทำการวิเคราะหค์ วามสัมพันธร์ ะหวา่ งระดับวุฒิภาวะทางอารมณก์ ับระดับการเลือก
ใช้วิธีแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้วิธีวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product
Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า
ระดับวุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดมหาสารคาม โดยรวมอยู่
ในระดับปกติวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดมหาสารคามเลือกใช้
มากที่สุด คือ วิธีการประนีประนอม รองลงมาคือวิธีการร่วมมือ วิธีการยอมให้ และที่เลือกใช้น้อยที่สุด คือ วิธีการหลีกเลี่ยง และ วิธี
การเอาชนะ ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างระดับวุฒิภาวะทางอารมณ์กับระดับการเลือกใช้วิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง พบว่า ผู้บริหาร
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดมหาสารคาม ทุกระดับวุฒิภาวะทางอารมณ์ไม่เลือกใช้วิธีการเอาชนะแต่เลือกใช้วิธี
การประนีประนอมและวิธีการความร่วมมือ และระดับวุฒิภาวะทางอารมณ์ไม่มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้วิธีการหลีกเลี่ยง และวิธีการ
เอาชนะ
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Bangkok : Wattanaphanich.
[2] Surang Losamritchai. (1993). Causes of conflicts
and conflict management of Secondary school
administrators under the Department of General
Education, Bangkok. Master of Education Thesis
: Srinakharinwirot University.
[3] Chaloa Konkham. (2001). The emotional quotiet
and conflict resolution of school administrators
under lopburi provincial primary education
office. Master of Education Thesis : Thepsatri
Rajabhat University.[4] Sawittree Phanitchareon. (2005). Personality as well
as emotional intelligence and conflict management
of the Academic Department Head Teachers
in Secondary Schools under the Office of the Basic
Education Commission, Bangkok District 3. Master
of Arts Thesis : King Mongkut’s Institute of
Technology North Bangkok.
[5] Thanaporn Masakul. (2004). Relationship between
Administrators’ Emotional Maturity and Conflict
Management in Operations of subordinates.
Master of Education Thesis : Rajamangala
University of Technology Thanyaburi
[6] Juthamart Rujiratanon. (2004). A study of Conflict
Cause and Conflict Management Method of
Administrators of School 1-2 Levels under Suphanburi
Educational Service Area Office. Kanchanaburi
Rajabhat University.
[7] Rungsun Hamunt. (2003). Conflict Management of
Administrators in Primary School under the
Primary Education Office of Amphoe Nakhon
Chaisri, Nakhon Pathom Province. Master of Arts
Thesis : Silpakorn University.
[8] Supakorn Mekkhayai. (2007). The Relationship
Between Leadership Styles and Conflict
Management of Administrators in Basic
Educational School Under Kanchanaburi
Educational Service Area Office 3. Master of Arts
Thesis : Silpakorn University.
[9] Weeranut Suttaphan. (2007). Conflict Administration
on the Performance of basic Educational Institution
Administrators under the Jurisdiction of Samut
prakan Educational Service Area Office 1. Master
of Education Thesis : Rajabhat Rajanagarindra
University.[10] Putcharaporn Kullabut. (2012). Conflict
management of the educational institution
administrators, Mae Hong Son primary education
service area 1. Master of Arts Thesis : Chiang Mai
University.
[11] Issara Yothasrikun. (2013). Conflict Management
of Executives From Basic Educational Institues
under Chaiyaphum Primary Educational Service
Area Office 2. Master of Arts Thesis : Mahamakut
Buddhist University.
[12] Madea Mathong. (2013). Conflict management
of school administrators under the office of
Chachoengsao primary education service area 1.
Master of Arts Thesis : Burapa university.