การพัฒนาการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC

Main Article Content

จีรนุช ภูทองเงิน
ประสพสุข ฤทธิเดช
ชัยวัฒน์ สุภัควรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)พัฒนาการจัดการเรียนรู้การเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคCIRCให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/802) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคCIRC กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนธนพรวิทยา จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้2) แบบทดสอบวัดความสามารถเพื่อพัฒนาการเขียนสะกดคำ และ3) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบสมมติฐานคือ One Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1)การจัดการเรียนรู้เขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.45/85.87 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้2) ค่าดัชนีประสิทธิผลการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC เท่ากับ 0.5655 คิดเป็นร้อยละ 56.553)ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคCIRC โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กมล ชูกลิ่น.(2550).การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เกสร สุทธิปัญโญ. (2556).การพัฒนาการอ่านและการเขียนแจกลูกสะกดคําโดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์),7(2), 173 – 181.

จันทรา ตันติพงศานุรักษ์. (2543). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Cooperative Learning.วารสารวิชาการ, 3(12),36-55.

มณฑาทิพย์ อัตตปัญโญ. (2542). การใช้เกมพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคาสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ฐะปะนีย์นาครทรรพ. (2522). วิธีซ่อมเสริมทักษะวิชาภาษาไทย ในเอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษา.กรุงเทพฯ: แผนกวิชามัธยมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพชรรัตน์ ยุรี. (2558).การศึกษาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC.Veridian E-Journal, Slipakorn University,8 (3), 1906 – 3431.

ไฉไล เมืองพระฝาง (2550).การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความกลุ่มสาระภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร

วรรณีโสมประยูร. (2542). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช.

วันเพ็ญ จนทร์เจริญ. (2542). การเรียนการสอนปัจจุบัน. สกลนคร: สถาบันราชภัฏสกลนคร.

ไสวฟักขาว. (2544). การจัดการเรียนการสอนทีเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.

สุภาวดี นิลาทะวงศ์. (2559).การเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ CIRC กับเทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL Plus.วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 22 (ฉบับพิเศษ),374-383

อัจจิมาเกิดผล (2546). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาภรณ์ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน.(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.

อรทัย เจริญทัศน์. (2558).ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์และความมุ่งมั่นในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนาส่วงวิทยา จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,9(3), 154 – 165

อัมพวรรณ์ โคโตสี. (2550).การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะการสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัจฉรา เจตบุตร. (2556).การพัฒนาบทเรียนสื่อประสมเรื่องการเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: