ความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการแบบเปิด

Main Article Content

พิมพ์สุภา วุ่นเหลี่ยม
มะลิวัลย์ ถุนาพรรณ์
นิภาพร ชุติมันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการแบบเปิด เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผล รวมถึงเปรียบเทียมบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวกับการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 80 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการแบบเปิดและแผนแบบปกติ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.88 (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.61 และ (4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ แบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.64 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Hotelling’s T2


            ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการแบบเปิดมีประสิทธิภาพ88.69/84.67และค่าดัชนีประสิทธิผล 0.7617อีกทั้งนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการแบบเปิดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544).หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จุฬาลักษณ์ เชื้อเงิน.(2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยวิธีการแบบเปิดร่วมกับการใช้คำถามของบาดแฮมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการสาขา มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.11(1), 41-58.

ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2542). การสอนคณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุณยนุช ทูรศิลป์ และวีรวัฒน์ ไทยขำ.(2560).ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องระบบจำนวนเต็มโดยใช้วิธีการแบบเปิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโกรกพระ.รายงานสืบเนื่องการประชุม วิชาการระดับชาติสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 4. (น. 244-253).กำแพงเพชร:มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ประภัสสร เพชรสุ่ม.(2560). ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด.วารสารราชพฤกษ์. 15(1), 80-89.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2546). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนโดยเน้นกระบวนการทางคณิตศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2555). การใช้วิธีการพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียนแบบ Open Approach เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์แบบ Lesson Study Approach. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิริพร ทิพย์คง. (2544). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Krulik, S. & Reys, R.E. (1980). Problem Solving in School Mathematics.Reston, Virginia: NCTM.(pp. 241-245).

NCTM. (1991). Professional standards. Reston, VA:

NCTM. (2000a). Principles and Standards for School Mathematics. Reston, VA: National Council of Teachers of Mathematics.(pp. 1-26).

Nohda, N. (1986). A Study of “Open-Approach” Method in School Mathematics Teaching Focusing on Mahematical Problem Solving Activities. Tsukuba Journal of Educational Study in mathematics. (pp. 19-31).

Yoshida, M. (2006). An overview of Lesson Study.In Building our understanding of lesson study.Philadelphia: Research for better schools Inc.(pp.1-12).

Yoshida, M. & Fernandez, C. (2002).Lesson Study: An Introduction. New York: Madison.(pp. 89-90).