การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี2)ศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/803)เปรียบเทียบการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์และการเรียนรู้แบบร่วมมือระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน4)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์และการเรียนรู้แบบร่วมมือระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสังเกตและสัมภาษณ์การจัดการเรียนรู้ได้แก่ อาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต จำนวน 14 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง2) กลุ่มทดลองการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิตจำนวน 14 คน3) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยคณะศึกษาศาสตร์วิทยาลัยพิชญบัณฑิต จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน 2) แบบสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 15 แผน 4) แบบทดสอบการคิดแก้ปัญหา จำนวน 5 ข้อ 5)แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1)การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า ยังมีปัญหาในระดับที่ต้องการพัฒนาความสามารถการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาเพิ่มขึ้น ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นสร้างความสนใจ 2) ขั้นการสำรวจและค้นหา 3) ขั้นการอธิบายและลงข้อสรุป 4) การขยายความรู้ 5) ขั้นการประเมินผล รวมทั้งมีผลการประเมินคุณภาพและความเหมาะสมด้านการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์และการเรียนรู้แบบร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญ รายแผนอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และผลการประเมินคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2)การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มีประสิทธิภาพเท่ากับ87.21/85.76ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80(3)นักศึกษาที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์และการเรียนรู้แบบร่วมมือมีการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05(4)นักศึกษาที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณการบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน,36(2), 188–204.
ทิศนา แขมมณี.(2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี.(2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 19).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ:119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2557). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21.มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิด วิธี และเทคนิคการสอน.กรุงเทพฯ:เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเมนต์.
พิมพันธ์เดชะคุปต์และพเยาว์ ยินดีสุข. (2548). วิธีวิทยาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป.กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พ.ว.).
พจนา ทรัพย์สมาน. (2549). การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2555).วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2546).คู่มือวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์.กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). 21วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สุวิทย์ มูลคำ.(2553).กลยุทธ์…การสอนคิดเชิงมโนทัศน์.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
อัศวี เมฆิยานนท์. (2562).ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI: Group investigation) เรื่อง ระบบสุริยะ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารแสงอีสาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน.16(2), 84-85.
อุไรวรรณปานีสงค์. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(5E) เสริมด้วยเทคนิคการจัดแผนผังมโนทัศน์ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 134–147.
อำพล พาจรทิศ. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์,11(2), 399-408.
Liu, C. C.,H. S. L. Chen, and B. J. Liu. (2011). An enhanced concept map approach to improvingchildren’s storytelling ability. Computers and Education.56 (3), 873–884.
Ali, A. (2014). The Effect of Inquiry-based Learning Method on Students, Academic Achievement in Science Course.Universal Journal of Education Research, 2(1), 37–41.
Hall, Gene E., Linda F. Quinn, & Donna M. Gollnick. (2014). Introduction to Teaching: Making a Difference in Students Learning. Thousand Oaks, CA: SAGE, Publication; Inc.