การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการสื่อความหมาย และนำเสนอ ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

Main Article Content

ฉุยฉาย สุริวงขัน
มะลิวัลย์ ถุนาพรรณ์
ปิยภัทร บุษบาบดินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เรื่องสถิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ    ตามเกณฑ์ 75/75  2) หาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เรื่อง สถิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสื่อความหมายและการนำเสนอทางคณิตศาสตร์ ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เรื่อง สถิติ              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 88 คน จาก 2 ห้อง ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ดังนี้ กลุ่มทดลอง ได้รับการสอนคณิตศาสตร์ด้วยการใช้แผนและเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD กลุ่มควบคุมได้รับการสอนคณิตศาสตร์ด้วยการใช้แผนและ เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD จำนวน 18 แผน แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 18 แผน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบประเมินความสามารถในการสื่อความหมายและนำเสนอทางคณิตศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐานและการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ Hotelling - T2


       ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เรื่องสถิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 78.05/76.67  2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เรื่องสถิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6460 หรือคิดเป็น ร้อยละ 64.60  3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการ สื่อความหมายและการนำเสนอทางคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติ สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05


4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนและหลังเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกัน แสดงว่านักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้ จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูนำวิธีการจัดการเรียนรู้นี้ไปใช้อย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551).หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.

จำนงค์ กรุพิมาย. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาฟิสิกส์เรื่องงานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โดยกิจกรรมการเรียนรูปแบบร่วมมือเทคนิค STAD.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 12(1), 353-360

เจษฎา แช่มประเสริฐ. (2543). รูปแบบการสอนเพื่อเป็นหนทางสู่ผลงานวิชาการ. วารสารนิเทศการศึกษา, 1(3), 41-44.

ฐานพัฒน์ ปักการะเน. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนเรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการสอน STAD. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6(4), 151-163.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. (พิมพ์ครั้ง ที่ 2). กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

ภูษิต สุวรรณราช. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT และการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2. (หน้า 88-98).มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร:สุวีริยาสาสน์.

ลีนวัฒน์ วรสาร. (2561) การพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ ความคงทนในการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 10(29), 132-143.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

วิการณ์ แก้วมะ (2559). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์,ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(22), 209-220.

สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2559). ประกาศและรายงานผลโอเน็ต. สืบค้นจาก สทศ : http://www.onetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/login.aspx.

สมนึก ภัททิยธนี. (2558). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้ง ที่ 10). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

อุษา ยิ่งนารัมย์. (2552). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีเรียนแบบร่วมมือแบบSTAD กับการสอนแบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

Slavin. (1995). Cooperative Learning: Theory, Research and Practice. 2nd ed. Boston: Allyn and Bacon.