การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWDL ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ลภัสรดา ภาราสิริสกุล
มะลิวัลย์ ถุนาพรรณ์
นิภาพร ชุติมันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผล รวมถึงเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวกับการเรียนรู้แบบปกติ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา     ปีที่ 3 โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 100 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และแบบปกติ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ แบบอิงเกณฑ์เลือกตอบ 2 ตัวเลือก พร้อมอธิบายเหตุผล มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และแบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Hotelling’s T2


       การวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพ 85.28/79.13 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.71 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 71 อีกทั้งนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สูงกว่ากิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 นอกจากนี้ยังมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.62 และ S.D. = 0.58)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน.พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉวีวรรณ ธรรมทินโน. (2554). การพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ K-W-D-L เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 (น. 805 – 818). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ดวงดาว กีรติกานนท์. (2545). การให้เหตุผล. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.

นัฐฐนิภา ประทุมชาติ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง เศษส่วนและการประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 28(3), 40 – 51.

บุญชม ศรีสะอาด.(2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2551). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ปรียาณ์ภัสนากร สุ่มมาตย์. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องโจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรรณพิลาส พลเสน. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การให้เหตุผล เรื่อง ความน่าจะเป็น และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ KWDL และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TAI ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 8(17), 199 – 207.

พร้อมพรรณ อุดมสิน และ อัมพร ม้าคะนอง. (2547). ประมวลบทความหลักการและแนวทางการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.

ไพศาล วรคำ. (2563). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11) มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

มะลิวัลย์ ศรีบานชื่น. (2554). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL และการจัดการเรียนรู้แบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(4), 62 – 69.

ยุพิน พิพิธกุล. (2546). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.ยุพิน พิพิธกุล. (2545). การสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิจารณ์ พานิช. (2555).วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วิริยะ บุญยะนิวาสน์. (2537). มาพัฒนาการเรียนการสอนกันเถอะกลุ่มทักษะคณิตศาสตร์. วารสารประชากรศึกษา. 44(11), 26-32.

ศศิธร แม้นสงวน. (2556). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ 2.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น. (2542). แนวการจัดกิจกรรมเพื่อสรางเสริมคุณลักษณะดี เก่ง มีสุข.กรุงเทพฯ: กองวจัยทางการศึกษา กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551).ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ส เจริญการพิมพ์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2555). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6).กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

Ogle, D. (1986). K- W-L: A Teaching Model That Develops Active Reading of Expository Text.

Reading Teacher, 39, 564 –570, February.

Sternberg, R. (1999). The nature of mathematical reasoning. L.V. Stiff & F.R. Curcio (Eds.), Developing Mathematical Reasoning in Grades K-12 (37–43). Reston, VA: Nation Council of Teachers of Mathematics.