การศึกษาความเชื่อของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อเจตคติทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

เนตรดาว ปทุมพร
นวพล นนทภา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ส่งผลต่อเจตคติของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายคือ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 9 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 300 คนของโรงเรียนวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูจำนวน 25 ข้อ แบบสอบถามความเชื่อของครูจำนวน 30 ข้อ แบบสัมภาษณ์ความเชื่อของครูจำนวน 7 ข้อ แบบวัดเจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนจำนวน 20 ข้อ และแบบสัมภาษณ์เจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนจำนวน 5 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการบรรยายเชิงวิเคราะห์


            ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของครูผู้สอน มีความโน้มเอียงไปตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์สูงกว่าความเชื่อตามแนวคิดทฤษฎีแอบโซลูทิสต์ ส่วนเจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นแสดงให้เห็นว่าหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยของเจตคติเชิงบวกทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียน แต่เจตคติเชิงลบทางคณิตศาสตร์หลังเรียนน้อยกว่าก่อนเรียน และความเชื่อของครูในการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์มีผลต่อเจตคติเชิงบวกทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนสูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นจาก http://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id=75.

ณัฏฐ์ชญา อินพูลวงษ์. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เจตคติต่อคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบรวมมือเทคนิค STAD. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 28(3), 126-139.

ชุติมา คำธะนี. (2551). อิทธิพลของความเชื่อทางคณิตศาสตร์ของครูที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2(3), 40-49.

ทนงศักดิ์ พลไชยา. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อ เมตาคอกนิชัน ความเข้าใจ มโนทัศน์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.11(2), 227-236.

นัฐพล จิตผล 2559 การสำรวจความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติคณิตสาสตร์ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่ใช้หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา.วารสารบัณฑิตวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1), 59-67.

ยุทธพงศ์ ทิพย์ชาติ. (2557). การศึกษาผลของความรู้ และความเชื่อของนักศึกษารูที่มีต่อการฝึกปฏิบัติการสอนคณิตศาสตร์. วารสารครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.11(1), 47-59.

สุรศักดิ์ ตุลาเนตร 2559 ความเชื่อของนักศึกษาครูเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ในบริบทที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด.วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.4(2),57-77.

อัมพร ม้าคนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้นจากhttps://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=6422.

Alina Felicia Roman. (2015). The relation between prospective teachers’ beliefs and conceptions of learning and their academic performance. Aurel Vlaicu University of Arad. 439–446.

HuseyinYaratan. (2012). Eighth grade students’ attitude, anxiety,andachievement pertaining to mathematics lessons. Eastern Mediterranean University.162–171.

IulianaMarchis. (2011). Factors that influence secondary school students’ attitude to mathematics. Babes-Bolyai University. 786-793.

NerminKibrislioglu. (2015). An Investigation About 6th Grade Students’ Attitudes Towards Mathematics. Hacettepe University.64–69.

Nur Sirmaci. (2010). The relationship between the attitudes towards mathematics and learning styles. Procedia Social and Behavioral Sciences.644–648.