รูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์

Main Article Content

เยาวเรศ ภักดีจิตร
บังอร ทิวาพรภานุกูล
ทิพรัตน์ มาศเมธาทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการบูรณาการกิจกรรม    การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์             และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรม          ที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการ   บูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ ระยะที่ 2 ทดลองใช้และประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้            กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 2 ห้อง 1 ที่กำลังศึกษารายวิชา 1122203 การพัฒนาหลักสูตร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 27 คน  ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย      1)รูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้  2) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ 3) แบบสอบถามความ     พึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสังเคราะห์ข้อมูลเรียบเรียงเขียนเป็นความเรียง


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ฯที่ได้พัฒนาขึ้น มี 4 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ ประกอบด้วยการเรียนรู้แบบองค์รวม การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และสรรค์สร้างผลงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำ       การทำงานเป็นกลุ่ม และการนำเสนอผลงาน (2) วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 และผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา (3) กระบวนการของรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนที่ 1 กระตุ้นความสนใจ 2) ขั้นตอนที่ 2 ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ 3) ขั้นตอนที่ 3 ค้นคิดและพัฒนานวัตกรรม 4) ขั้นตอนที่ 4 นำเสนอนวัตกรรม และ 5) ขั้นตอนที่ 5 สรุปและประเมินผลงาน และ (4) การวัดและประเมินผล ประกอบด้วยการวัดและประเมินผลระหว่างการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลหลังการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) นักศึกษาที่ได้รับการเรียนรู้ตามรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรม มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมโดยภาพอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5ปี). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

คณะกรรมการกองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา.(2560). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา.

ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ และประสาท เนืองเฉลิม.(2561).แนวทางการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 18(4), 129- 141.

นวพร มามาก.(2562). การจัดการเรียนการสอนเชิงสร้างสรรค์.สืบค้นจาก. http://164.115.41.60/knowledge/?p=677.

บุญเตือน วัฒนกุล. (2562). การจัดการเรียนการสอนเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นจาก http://164.115.41.60/knowledge/?p=677.

มงคล เรียงณรงค์ และลัดดา ศิลาน้อย. (2558). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน(CBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชา ส 21103 สังคมศึกษา 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 38(4), 141-148.

ลักษณา พงษ์ภุมมา. (2562). การจัดการเรียนการสอนเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นจาก http://164.115.41.60/knowledge/?p=677.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรืองและอธิป จิตตฤกษ์.(2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตรวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ:โอเพ่นเวิลด์ส.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานCreativity-based Learning (CBL). วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 1(2), 23-37.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์และกิจวัตน์ จันทร์ดี. (2558). คู่มือการออกแบบการสอนศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก www.ubu.ac.th › web › files_up.

วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง. (2561). เทคโนโลยีกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของครู. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 11(2), 18-26.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2560 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกไทยหวาน จำกัด.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2560). กระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ในกระบวนวิชา CEE2205 (ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็ก). วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 32(2), 1-8.

สุทธิพร แท่นทอง. (2563). ทฤษฎีและการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล : ทฤษฎีเชื่อมโยงความรู้และการเรียนรู้แบบผสมผสาน.วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย. 14(1), 1-14.

อติพร เกิดเรือง. (2559). การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง(Lampang Rajabhat University Journal). 6(1), 173-184.

Craik, F. and Lockhart, R. (1972). Level of Processing: A Framework for Memory Research. Journal of Verbal Learning and Verbal Behavior. 11.(pp.671-684.)