ความหลากหลายของพรรณไม้ในป่าชุมชนโคกหนองคลอง ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ในป่าชุมชนโคกหนองคลอง ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ตั้งแต่เดือน มีนาคม พ.ศ. 2562 ถึง เดือน มีนาคม พ.ศ. 2563 มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ เพื่อศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน และศึกษาการใช้ประโยชน์จากพรรณไม้ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่อาศัยอยู่รอบพื้นที่ป่า โดยมีการออกสำรวจเก็บตัวอย่างทั้งหมด 13 ครั้ง โดยเก็บตัวอย่างเดือนละ 1 ครั้ง ตามเส้นทางเดินธรรมชาติ
ผลการศึกษาพบพรรณไม้ทั้งสิ้น 32 วงศ์ 60 สกุล 63 ชนิด พรรณไม้ที่พบมากที่สุดคือ วงศ์ Fabaceae ที่สำรวจพบมีทั้งหมด 15 ชนิด รองลงมาคือ วงศ์ Asclepiadaceae วงศ์ Asteraceae และวงศ์ Euphorbiaceae สำรวจพบวงศ์ละ 4 ชนิด พรรณไม้ทุกชนิดที่นำมาใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นมี 63 ชนิด 60 สกุล 32 วงศ์ จัดเป็นกลุ่มตามการใช้ประโยชน์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเกษตรพื้นบ้าน 28 ชนิด ด้านสุขภาพพื้นบ้าน 31 ชนิด ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 29 ชนิด ด้านวัสดุศาสตร์เทคโนโลยีพื้นบ้าน 21 ชนิด และด้านความเชื่อ 5 ชนิด
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). คู่มือการเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืช. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุรางค์ เธียรหิรัญ. (2557). ผลกระทบต่อเนื่องของการทำลายป่าและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อความหลากหลายทางชีวภาพในอาเซียน. ใน การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 52 “สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”. (น. 2-3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กรมป่าไม้. (2559). สถิติป่าไม้. สืบค้นจาก http://forestinfo.forest.go.th/55/Content.aspx?id=10325.
อุษา กลิ่นหอม. (2556). ภูมิปัญญาอีสาน คู่มือการจัดเก็บความรู้สู่การใช้ประโยชน์. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.
เทียมหทัย ชูพันธุ์. (2550). ความหลากชนิดของพรรณพืชและพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของป่าโคกไร่ อําเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 26(2), 150-154.
สุกัญญา นาคะวงศ์, วรรณชัย ชาแท่น, และวิลาวัณย์ พร้อมพรม.(2560). การศึกษาสังคมพืชและการใช้ประโยชน์ของพรรณไม้บริเวณป่าช้าสาธารณประโยชน์บ้านจาน เทศบาลตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 10(1), 93-120.