การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) เรื่องการประยุกต์ร้อยละ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน และศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผล รวมถึงเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวกับเกณฑ์(ร้อยละ 75)และเพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น โดยการวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6โรงเรียนดงพยุงสงเคราะห์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 30 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มโดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน18ชั่วโมงซึ่งอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการประยุกต์ร้อยละ แบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.94และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องการประยุกต์ร้อยละ แบบอัตนัย จำนวน10ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.92และใช้สถิตในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t – test แบบ one sample และ t–test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยปรากฏว่าแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดการศึกษาชั้นเรียนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.45/78.11 และมีค่าดัชนีประสิทธิ์ผลเท่ากับ 0.5364นั้นคือนักเรียนมีความหน้าทางการเรียนร้อยละ 53.64อีกทั้งนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 23.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75และมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เฉลี่ยเท่ากับ 39.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75นอกจากนี้นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวมีความคงทนในการเรียนรู้ดังจะเห็นได้จากคะแนนทดสอบหลังเรียน 14 วัน เฉลี่ยเท่ากับ23.10 ซึ่งไม่แตกต่างกับคะแนนทดสอบหลังเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2551).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ขจรศักดิ์ จ่าไทยสงค์,โกมินทร์ บุญชู และวิโรจน์ ตั้งวังสกุล.(2560)..การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน2563 จาก https://edu.kpru.ac.th/math//contents/.pdf.
จตุพร นาสินสร้อย, นฤมล ช่างศรี และไมตรี อินทร์ประสิทธิ์.(2558).การคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่องการคูณในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีแบบเปิด.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,กรกฎาคม, 38(3), 133–142.
ชาริณี ตรีวรัญญู. (2557). เอกสารประกอบการบรรยาย/การอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาบทเรียนร่วม(Lessonstudy) ทางเลือกใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐพร เอี่ยมทอง.(2561).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 ที่เรียนโดยรูปแบบ Problem-based Learning กับรูปแบบการสอนปกติ. วารสารราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา,16(2),53-60.
นภาพร วรเนตรสุดาทิพย์. (2554). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson study): แนวคิดใหม่ในการพัฒนาวิชาชีพครู. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, กรกฎาคม,1(2),88-99.
นริศรา คณานันท์. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง บทประยุกต์ความคงทนในการเรียนรู้ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน).มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรชนก จันพลโท.(2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 31(2),38-51.
ไพศาล สุวรรณน้อย. (2558). เอกสารประกอบการบรรยายโครงการพัฒนาการเรียนการสอน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สิริกัลยา สิงธิมาตร. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,34,170-180.
สุพรรณิกา เอื้อศิลป์. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL)เรื่องข้อมูลข่าวสารและค่าสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนท่าด้วงพิทยาคม. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17,161-173.
สุภางค์ศรี โทแหล่ง. (2559).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการเชื่องโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ ระหว่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้ตามแบบวัฏจักร์การเรียนรู้4MAT. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,10,1148-1163.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). ระเบียบวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์.มหาสารคาม:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมนึก ภัททิยธนี. (2558). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา.ตักสิลาการพิมพ์:มหาสารคาม.
อมรรัตน์ เถาว์โท และจิรัญญา สราวุธ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วนของพหุนาม ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์,13(2), 245-254.