อนาคตภาพการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาการคิดเชิงคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ในทศวรรษหน้า

Main Article Content

บัวเครือ พันคู
ธีรวุฒิ เอกะกุล
สมชาย วรกิจเกษมสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนออนาคตภาพการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาการคิดเชิงคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน
ระดับประถมศึกษาในทศวรรษหน้า ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยอนาคตประยุกต์เทคนิค EDFR ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน
ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ มัธยฐาน
ฐานนิยม ค่าสัมบูรณ์ของผลต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับค่าฐานนิยม ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า


1. การคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียนในอนาคต ประกอบด้วย 1) ความรู้ทางคณิตศาสตร์ นักเรียนต้องมีความรู้เรื่องจำนวนและพีชคณิต การวัดและเรขาคณิต สถิติและความน่าจะเป็น2) สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ นักเรียนต้องมีสมรรถนะ ดังนี้ การแก้ปัญหาเชิงคณิตศาสตร์ การให้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ การสื่อสารความคิดเชิงคณิตศาสตร์ การเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ การนำเสนอตัวแทนความคิดเชิงคณิตศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ และ 3) เจตคติต่อคณิตศาสตร์ นักเรียนต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้ ความมุ่งมั่นในการทำคณิตศาสตร์ ความยืดหยุ่นใน           การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ การเห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์ การเห็นความสำคัญการทำงานเป็นระบบ การเห็นความสำคัญของความร่วมมือ


2. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาการคิดเชิงคณิตศาสตร์ มี 5 ด้าน คือ 1) จุดประสงค์ 2) ความรู้ทางคณิตศาสตร์ 3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความคิด/เร้าความสนใจ ขั้นที่ 2 เสนอและทำความเข้าใจปัญหา ขั้นที่ 3 วางแผนแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 นำเสนอแผนที่วางไว้ ขั้นที่ 5 ดำเนินการแก้ปัญหา ขั้นที่ 6 เชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง 4) การวัดและประเมินผล และ5) สื่อ/แหล่งเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Khainil, S. (2011). Mathematics education at school level in Thailand The development – The impact – The dilemmas. The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST).
[2] The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2012). Mathematical skills and processes. 3rd edition, 3- Q Media, Bangkok.
[3] Nabumrung, R. (2007). Natural ways of mathematical thinking on multiplication and division of chikdren age 7-10. Doctors Dissertation, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand.
[4] National Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (2000). Principle and Standards for school Mathetics. Reston. Virginia.
[5] Boonpattanaporn, S. (2016). The Development of curriculum to enhance mathematics thinking for mathematical thinking for mathayomsuksa 4 students. Doctors Dissertation, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand.
[6] The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2018). Manual for Using the Mathematics Learning Curriculum Group(Revised Edition 2017) According to the core curriculum of basic education, BE 2551. Primary school. Bangkok : Success Public Company Limited.
[7] Suktanee, W. (2015). Sceanario Education Curriculum at
The Higher Education Level in Thailand
Towards Asean Community. Doctors Dissertation,
Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.
[8] Bruner, J. (1966). Jerome S. Bruner and the process
of education: The Encyclopedia of informal
education. New York : University.
[9] Bloom, B.S. (1976). Human characteristics and School
Learning. New York : McGraw-Hill.