การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เปียโน สำหรับนักศึกษา สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

ปริยัติ นามสง่า
พงษ์พิทยา สัพโส
พิทยวัฒน์ พันธะศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เปียโน สำหรับสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) ศึกษาผลการทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและข้อมูล โดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างอาจารย์ผู้สอนเปียโน 13 คน ผู้บริหารหรืออาจารย์ผู้สอนเปียโน 13 คน นักศึกษาที่เรียนวิชาเอกเปียโน 13 คน จากมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาเอกเปียโนในประเทศไทย โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับอาจารย์ผู้สอนเปียโนและนักศึกษาที่เรียนวิชาเอกเปียโน แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหารหลักสูตรหรืออาจารย์ผู้สอนเปียโน ระยะที่ 2  การยกร่างหลักสูตร โดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน นักศึกษา กลุ่มทดลอง 10 คน โดยเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มทดลองจริง (Try out) โดยใช้วิธีการสุ่ม อย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินหลักสูตรสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินทักษะปฏิบัติ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทาง          การเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ การใช้หลักสูตร ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร โดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษา 10 คนโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินทักษะปฏิบัติ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจการใช้หลักสูตรและระยะที่ 4 สรุปผลการใช้หลักสูตร โดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 จากระยะที่ 3 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้หลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า


1. ผลการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เปียโน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้หลักสูตรที่มีความเหมาะสมในระดับมาก มีความเหมาะสมเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ผลพิจารณาเป็นรายด้านมีผลดังนี้ ด้านสภาพปัญหาและ              ความจำเป็นของหลักสูตรมีผลเหมาะสมมาก ด้านหลักการของหลักสูตรมีผลเหมาะสมมาก ด้านเป้าหมายของหลักสูตรมีผลเหมาะสมมาก ด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีผลเหมาะสมมาก ด้านกระบวนการเรียนการสอน มีผลเหมาะสมมาก ด้านสื่อ การเรียนการสอนและ               แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมมีผลเหมาะสมมากที่สุด ด้านการวัดและประเมินผลมีผลความเหมาะสมมาก


2. ผลการทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เปียโน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Narutt Suttachitt. (2001). Music instructional behavior. Bangkok : Bangkok: Chulalongkorn University Press.
[2] Ruji Pusara.(2002). Instructional plan writing. Bangkok : Bookpoint.
[3] Kurusapa. (2005). Professional standards and ethics. Bangkok : Kurusapa
[4] Puangrat Thaweerat. (2000).Research Methodology in behavioral sciences and social sciences. 7th edition. Bangkok : Educational and psychological Test Bureau.
[5] Suwanna Wangsopon. (2017). Personal interview.
[6] Sirichai Kanjanawasee. (2009). Classical test theory.6th edition. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
[6] Sunthorn Kotbuntao. (1992). Instructional techniques. Bangkok: Se-ed.
[7] Pongpitthaya Sapaso. (2012). Guide Line for Development of the Music Technology Program in Thailand and Singapore. Doctoral Dissertation. Mahasarakham, Thailand: Mahasarakham University.
[8] Sakchai Hiranrak. (2014). Nature of music studies – scopes, knowledge, attitudes, and aimed characteristics of music. Mahidol Music Journal, 19, 14-19.