แบบจำลองความเชื่อมั่นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของนักลงทุนรายย่อย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของนักลงทุนรายย่อย และเพื่อสร้างแบบจำลองความเชื่อมั่นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของนักลงทุนรายย่อย วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของนักลงทุนรายย่อย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ นักลงทุนรายใหญ่ นักลงทุนรายย่อย และนักวิชาการ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง มาสร้างแบบสอบถาม ประชากรเป้าหมาย ได้แก่ นักลงทุนที่เข้าร่วมงานสัมมนาด้านการลงทุนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด จำนวน 340 คน โดยคำนวณจากอัตราส่วนที่สามารถประมาณค่าพารามิเตอร์ เป็น 20 : 1 สถิติที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling : SEM) โดยโปรแกรม ลิสเรล (LISREL) และการวิจัย ระยะที่ 2 เป็นการสร้างแบบจำลองความเชื่อมั่นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของนักลงทุนรายย่อย ผู้วิจัยนำผลการวิจัยที่ได้จากระยะที่ 1 มาสังเคราะห์เพื่อสร้างแบบจำลองความเชื่อมั่นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของนักลงทุนรายย่อย ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของนักลงทุนรายย่อย โดยเรียงลำดับค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ (0.88) ด้านความเสี่ยง (0.84) ด้านกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (0.78) และด้านหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (0.42) ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่น การลงทุนในลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของนักลงทุนรายย่อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. แบบจำลองความเชื่อมั่นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของนักลงทุนรายย่อย ได้แก่ ด้านอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ ด้านความเสี่ยง ด้านกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และด้านหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Phannapa Thuvanimitrkul. (2012). Business Finance. 6th Edition. Bnagkok : Thammasart University.
Ratchanee Rungsrirattanawong. (2010). Risk Factors Affecting SET50. Bangkok : University of the Thai Chamber of Commerce
Silapaporn Srijanpetch. (2012). Good Governance Principles. Business Administration Journal, Faculty of Commerce and Accountancy.
The Stock Exchange of Thailand. (2015d) Good Governance Promotion in the Registered Companies. Thammasart University. 32 (123), July-September, 2-4.
Gompers, P. (2003). Corporate Government and Equity Price. The Quarterly Journal of Economics, 118(1), 107-156.
Jirat Sangkaew. (2006). “Thailand Equities Instrument Market” Naianya Khanthawit and Suluck Patthammas (Editor), Financial Market Mechanism in Thai Economic System, 324-378. Bangkok: Thailand Equities Instrument Market.
Infogination Co., Ltd. (2016b). Advantages of Registering in The Stock Exchange of Thailand. Retrieve from http://www.incquity.com/articles/grow-your-biz/ipo-benefit.
Supakorn Sunthornkij and Phophanit Phumraphan. (2006). “Thailand Equities Instrument Market” Naianya Khanthawit and Suluck Patthammas (Editor), Financial Market Mechanism in Thai Economic System. Bangkok : The Stock Exchange of Thailand
Kalapraphruek Phiwthongngam and Worawan Chanduaywit. (2013). Financial System and Financial Market Structure” in Thailand Securities Institute. Financial Market and Securities Investment, 1-72, Bangkok : The Stock Exchange of Thailand.
Nongluck Wiratchai. (1999). LISREL model: Statistical Analysis for Resarch (3rd Edition). Bangkok : Chulalongkorn University Printing House.