การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา

Main Article Content

ชนิสรา อริยะเดชช์
ณัฏฐชัย จันทชุม
ทัศนีย์ นาคุณทรง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา ทักษะการคิดวิเคราะห์ ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ซึ่งมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2560 จำนวน 8 โรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 35 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ จำนวน 19 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมิน ระยะที่ 3 การหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาคณิตศาสตร์ ที่สมัครเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 25 คน คือ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม คู่มือวิทยากร คู่มือผู้เข้าอบรม แบบทดสอบ และแบบวัดความพึงพอใจ และ ระยะที่ 4 การประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูที่ผ่านการฝึกอบรม และนักเรียนที่ผ่านการจัดการจัดการเรียนรู้จากครูที่ผ่านการฝึกอบรม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินการปฏิบัติการสอนของครู แบบทดสอบประเมินความรู้ความเข้าใจเรื่องการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน


ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของครูผู้สอนซึ่งรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา แบบสอบถาม
แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ นำมาวิเคราะห์ สรุปได้ว่า วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และความสามารถใน
การปฏิบัติการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ มีเนื้อหา 6 หน่วย ผู้รับอบรมเป็นผู้สนใจและต้องการในการฝึกอบรม สมัครเข้าร่วม จำนวน 25 คน 2) ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด                3) หลักสูตรฝึกอบรมมีประสิทธิ ภาพเท่ากับ 89.38/86.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด ผลการเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบก่อนฝึกอบรมและหลังฝึกอบรมของผู้เข้าอบรม พบว่า คะแนนหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เข้าอบรมมี
ความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ 4) ผลการประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ผลการประเมิน การปฏิบัติการสอนของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีการปฏิบัติการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Office of the National Education Commission. (2002). Guidelines of Classroom Assessment Measures, Science Learning Group : Basic education curriculum 2544. Bangkok : Express Transportation Organization of Thailand.
[2] Ministry of Education. (2003). National Education Act 2542 Amendment (No. 2) 2002. Bangkok : Teachers' Council of Thailand
[3] Education Testing Service Center (Public Organization). (2015). Ordinary National Educational Test (O-NET) Prathom 6 and Muthayomsuesa 3. Bangkok : Education Testing Service Center (Public Organization)
[4] Ministry of Education. (2010). Core Curriculum Basic Education 2551. 3rd ed. Bangkok . The Agricultural Co-operative Federation of Thailand., LTD.
[5] The Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). (2015). Information System for External Quality Assessment [Online]. From : http://203.144.163.91/onesqa/th/ home/index.php [27 June 2015]
[6] Maitree Inprasert. (2012). Thailand's lagged exam results “PISA” Academic argues that lack of analytical thinking. from www.bangkokbiznews.com/home/news/politics/education
[7] Bunchom Srisa-ard. (2002). Preliminary research. 7th Ed. Bangkok : Suweeriyasarn.
[8] Taba, H. 1962. Curriculum Development Theory and Practice. New York : Harcourt, Brace and World.
[9] Sa-ngad Utharanan. (1994). Fundamentals and Principles of Curriculum Development. Bangkok : Wongduen Printing.
[10] Jesada Kayotha. (2015). Development of Science Teacher Training Curriculum for Preparing the Additional Course Curriculums focusing on Science Process Skills. Ph.D. Thesis (Curriculum and instruction) Mahasarakham University.
[11] Daniel and Other. (1971). With J. S. Rosenblatt. The study of behavioral development. In vertebrate Behavioral development. Edited by H. E. oltz. New York: Academic.
[12] Pijittra Thongphanit. (2014). Development of Curriculum, Knowledge, Competency according to Teacher Professional Standards. Nakornpathom : Silpakorn University.