รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่สังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานี 2. เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานี 3. เพื่อทดลองใช้และประเมินผลการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการ ส่วนท้องถิ่นที่สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานี ประชากร คือ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานี เฉพาะที่เป็นข้าราชการ จำนวน 2,187 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของ Smith [1] ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 329 คน การทดสอบสมมติฐานปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ใช้การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) และสหสัมพันธ์เพียร์สัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้วิจัยได้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วนตามชั้นภูมิ และการสุ่มแบบง่าย การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 21 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มทดลอง คือ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 15 คนวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การทดสอบสมมติฐานการวิจัยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรตามแบบวัดซ้ำ (MANOVA) วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ผลการวิจัย
การวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่สังกัดองค์การบริหาร ส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานี ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน จำนวน 5 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะผู้นำ (DE= 0.27) บรรยากาศของหน่วยงาน (DE= 0.18) ความฉลาดทางอารมณ์ (DE= 0.15) การเป็นสมาชิกที่ดี (DE= 0.06) การรับรู้บทบาท (DE= 0.01) ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ส่วนการทำงานเป็นทีม (DE= -0.07) ไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยสามารถอธิบายการผันแปรในตัวแปรตามได้ร้อยละ 31 ( = 0.31)
การวิจัยระยะที่ 2 ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่สังกัดองค์การบริหาร ส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานี โดยการนำผลการวิจัยในระยะที่ 1 มายกร่างรูปแบบเบื้องต้น และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ได้รูปแบบเป็นหลักสูตรการฝึกอบรม ลักษณะกิจกรรมในการพัฒนา 10 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) การแสดงพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี 2) การทำงานอย่างผู้นำ 3) ผู้นำ 4 ทิศ 4) การเป็นสมาชิกที่ดี 5) กิจกรรม 5 ส. 6) 5 วิธีสร้างบรรยากาศ 7) ความคาดหวัง 8)การรู้จักตัวเอง 9) ระดมสมองต้นไม้แห่งความคิด และ10) การแสดงบทบาทสมมติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานี นำผลที่ได้มาปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์ แล้วนำไปทดลองใช้ในระยะที่ 3
การวิจัยระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้และการประเมินรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานี โดยประเมินจากภาวะผู้นำ บรรยากาศของหน่วยงาน ความฉลาดทางอารมณ์ การเป็นสมาชิกที่ดี และการรับรู้บทบาท ในกลุ่มทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในกลุ่มทดลองหลังการทดลองดีกว่าก่อน การทดลอง จึงสรุปได้ว่าหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทำให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานีดีขึ้น
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Scoth M. Smith. (2015). Nutritionist, Manager for Nutritional Biochemistry Nutritional Biochemistry Laboratory NASA Johnson Space Center.
Chaiyon Piormpon. (2014). Empowerment of local administration organizations: A case study of self-governance with people’s intention. Bangkok : National Institude of Development Administration.
Rajkhum Sirinad. (2013). Relationship between leadership, knowledge sharing, and team working of OTOP group: A case study of Sakhon Nakhon province, Nakhon Pranom, province, and Mukdahan province.WMS Journal of Management Walailak University, 3 (1), 56-64.
Prajantasan Penjan. (2009). The developing model for working efficiency of private bank personnel. Maha Sarakham, Thailand: Rajabhat Maha Sarakham University.
Chaikulab iasariyapon. (2010). Emotional intelligence of educational institution administrators in Lei educational service area 1, 2 and 3. Lei, Thailand: Lei Rajabhat University.
Intarakamhang Angsinan. (2013). Multilevel causal analysis of socio-psychological and behavior factors of health providers and clients affecting risk behaviors modification with obesity. Bangkok : Srinakharinwirot University.
Nipatsiripil Yosawan. (2004). Personnel and environmental factors affecting nurse practices of professional nurses in intensive care units in public hospitals in Bangkok. Bangkok : Srinakharinwirot University.