ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Main Article Content

สุนิสา วงศ์อารีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจิตสาธารณะและปัจจัยทางจิตสังคมที่สามารถทำนายจิตสาธารณะของนักศึกษา ตัวอย่างเป็นนักศึกษา คณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 - 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 337 คนสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม1 ชุด จำนวน 119 ข้อ แบ่งเป็น 7 ตอน ได้แก่
1) จิตสาธารณะ 2) การรับรู้ความสามารถของตน (X1) 3) ลักษณะมุ่งอนาคต (X2) 4) เจตคติที่ดีต่อจิตสาธารณะ (X3) 5) การอบรมเลี้ยงดู (X4)
6) การได้รับการสนับสนุนทางสังคม (X5)และ 7) การได้รับแบบอย่างจากสื่อมวลชน (X6) เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนี ความสอดคล้องของเครื่องมือ (IOC) เท่ากับ 0.60 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.202- 0.673และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.707, .823, .850, .840, .814, .868 และ .876 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


            ผลการวิจัยพบว่า จิตสาธารณะของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.99) ส่วนปัจจัยทางจิตสังคมที่เป็นตัวทำนายจิตสาธารณะ พบว่า การรับรู้ความสามารถของตน (X1) และการได้รับการสนับสนุนทางสังคม (X5) ร่วมกันทำนายการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาได้ ร้อยละ 55.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสร้างสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ตามลำดับ ดังนี้


              gif.latex?\hat{Y}    =   55.549 + 15.262(X1) + 4.152(X5)


               gif.latex?\hat{Z}   =   0.664(X1) + 0.178(X5)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Haruthai,A. (2001).Relationships between personal factors, leadership, lifestyle, self-directed learning ability, and public consciousness of nursing students, Bangkok Metropolis. Doctoral thesis in Education, Psychology Department, Chulalongkorn University.

Ministry of Education. (2008). Government Regulations, Teachers and Educational Personnel Act 2008. Bangkok: Ministry of Education.

Chai, P.(2003). Public Mind: social orientation and Policy implications. Journal of Office of the Royal Society, 28(2), 431 449.

Charunee,C. (2012).Psycho-social factors related to public mind behavior of students in muang Lopburi district, Lopburi province. Doctoral thesis inEducation, Applied Behavioral Science Research Department, Srinakharinwirot University.

Yamane, T. (1973).Statistic An Introductory Analysis.. 3rd ed.New York : Harper & Row.

Office of the Education Council. (2005).National Education Standards. Bangkok : Office of the Education Council.

Wanlapa, T. (2000). Student development of the University. Bangkok: Chulalongkorn University.

Aomchai,V. (2010).Factors affecting towards public mind of Prince of songkla university's students. Pattani: Prince of Songkla University, Pattani Campus.

Bandura, A. (1977).Social learning theory.. Englewood Cliffs,New York: Prentice Hall.

Kosol, M. (2004). Psychosocial Factors Related to Public Mind Behavior of The Police Officer. Doctoral thesis in Education, Applied Behavioral Science Research Department, Srinakharinwirot University.

Chutapon, N. (2011). Causal Factors Influencing Public Mind Of Matthayomsuksa II In Bangkok Educational Service Area III. Doctoral thesis in Education, Educational Research and Statistics Department, Srinakharinwirot University.

Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. Englewood Cliffs, New York: Prentice Hall

Aomchai,V. (2010).Factors affecting towards public mind of Prince of songkla university's students. Pattani: Prince of Songkla University, Pattani Campus.

Pinkanok, V. (2010). Factors related to volunteer spirit of undergraduate students at King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.The Journal Of Faculty Of Applied Arts. 3(1), 9-16.