รูปแบบการพัฒนาชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนหมู่บ้านหลัก 35 บ้านอีตู้ เมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

พูขัน ไพพอนมะนีวง
แดนวิชัย สายรักษา
รังสรรค์ สิงหเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทปัญหา ความต้องการในการพัฒนาชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนหมู่บ้านหลัก 35 บ้านอีตู้ เมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนหมู่บ้านหลัก 35 บ้านอีตู้ เมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนหมู่บ้านหลัก 35 บ้านอีตู้ เมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เปรียบเทียบก่อนการพัฒนากับสภาพที่เกิดขึ้นหลังการดำเนินการ วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ


            ระยะที่ 1 เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้วิจัย ผู้นำชุมชน หัวหน้าครัวเรือนและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาคีต่างๆ 1) สร้างสัมพันธ์กับชุมชน ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อพบปะกับบุคคลต่างๆ ในชุมชนที่มีส่วนสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานวิจัย 2) สำรวจและการศึกษาชุมชน เป็นขั้นตอนการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของชุมชน 3) เตรียมคนในเครือข่ายความร่วมมือ กิจกรรมนี้มุ่งเน้นให้เกิดความพร้อมในการดำเนินการวิจัย ซึ่งในทางปฏิบัติจะมีการเตรียมคน 3 กลุ่ม คือ เตรียมคนในชุมชน เตรียมนักพัฒนา และเตรียมนักวิจัย


            ระยะที่ 2 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากระยะที่ 1 โดยการอภิปรายและถกปัญหา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของนักวิชาการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในระดับบุคคลและกลุ่ม เพื่อประเมินปัญหาและความต้องการของชุมชน พร้อมกับการประเมินความเป็นไปได้ ด้านทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนและกำหนดรูปแบบการพัฒนาชุมชน คือ 1) การถอดบทเรียนบริบท ปัญหาและความต้องการของชุมชน 2) การวิพากษ์โครงร่างรูปแบบกิจกรรมการพัฒนา


            ระยะที่ 3 ทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนหมู่บ้านหลัก 35 บ้านอีตู้            เมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก เป็นการทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มทดลอง ถึงความสำเร็จในการดำเนินการตามตัวแปร 6 ด้าน เพื่อวิเคราะห์                  ผลการทดลองยืนยันประสิทธิผล เปรียบเทียบผลการทดลองก่อนและหลังโดยวิเคราะห์ด้วย MANOVA (Repeated Measure)


ผลการวิจัย พบว่า


  1. ผลจากการศึกษาบริบท ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนหมู่บ้านหลัก 35 บ้านอีตู้ เมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก 1) ผลการศึกษาบริบทชุมชน พบว่า ศักยภาพด้านสังคมของหมู่บ้านเอื้อต่อการพัฒนาให้เป็นชุมชนต้นแบบได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีความพร้อมด้านพื้นที่และบุคลากรในชุมชน 2) ผลการศึกษาปัญหา พบว่า ประชาชนขาดความรู้ในการพัฒนา รายได้ไม่เพียงพอต่อการครองชีพ มีรายจ่ายครัวเรือนอยู่ในระดับที่มากกว่ารายได้ ขาดการประกอบอาชีที่มั่นคง ประชาชนขาดความพึงพอใจในด้านความเป็นอยู่ในชุมชน การมีส่วนร่วมน้อย 3) ผลความต้องการของชุมชน พบว่า ประชาชนต้องการมีความรู้ในการหารายได้ให้ครัวเรือน ต้องการมีความรู้ในการลดรายจ่ายครัวเรือน ต้องการมีการประกอบอาชีพในชุมชน ต้องการให้มีความพึงพอใจจากการมีความรู้ มีรายได้ มีรายจ่ายน้อยลง มีอาชีพในชุมชน และต้องการให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนมากขึ้น

  2. ผลการประชุมปฏิบัติการ และการพิจารณาของตัวแทนชุมชน นักวิชาการและผู้วิจัย ทำให้ได้รูปแบบ มีลักษณะเป็นกิจกรรมทั้งหมดจำนวน 10 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) การเพาะกล้าต้นชา กาแฟ 2) การจัดการแหล่งท่องเที่ยว 3) การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน  4) การส่งเสริมและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน 5) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชา กาแฟ 6) การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ 7) การแปรรูปและปรุงแต่งผลิตภัณฑ์ผัก ผลไม้ 8) การออกแบบและการบรรจุภัณฑ์ชา กาแฟ 9) การตรวจเยี่ยมและประเมินผลกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน และ           10) การประชาสัมพันธ์ศูนย์การเรียนรู้บ้านอีตู้ ซึ่งเป็นผลการวิจัยระยะที่ 2  

      3. ผลการดำเนินการทดลองที่ได้ โดยกำหนดให้มีการวัดผลก่อนและหลังการดำเนินการ พบว่า หลังการทดลองมีการพัฒนาชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนดีขึ้นกว่าก่อนทดลอง อันนำมาซึ่งผลการวิจัยระยะที่ 3 ผลจากการเปรียบเทียบความแตกต่างทีละตัวแปร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ซึ่งแสดงว่าหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาทำให้ความรู้เพิ่มขึ้น รายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น รายจ่ายครัวเรือนลดลง การประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น ความพึงพอใจเพิ่มขึ้น การมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Office of the national economic and social development board. (2007). 10th national economic and social development plan 2007-2012. Bangkok : Kurusapa Printing.

Yokjinda, V. (2014). Participation of people in community development in Thung Krang village, Tubsai sub-district, Pong Nam district, Chantaburi province. Chonburi, Thailand: Burapha University.

Danwichai Sairuksa. (2015). The development of SelfSufficiency and sustainability: A Case Study of Nong Peu, Kok Kon sub-district, Tha Bo District,Nongkhai Province. Mahasarakham : Rajabhat Mahasarakham University.

Munrika. Keawwan (2003). Participation in agricultural learning activities under sufficiency economy philosophy in Ang Thong province and Pra Nakhon Sri Ayuthaya province. Nonthaburi : Sukothaidhumathiraj University.

Danchai Samathi (2014). A model of community economic development for sustainable economic self-sufficiency: A case study of Ban Nong Namkhun, Ban Yuak sub-district, Nam Som district, Udonthani province. Mahasarakham, Thailand :Rajabhat Mahasarakham University.

The National Statistic Office. (2004). The report of household economic and social status 2004 nationwide edition. Bangkok: Ministry of Information Technology and Communication.

Kijtipon Thongrat, (2008). Sufficiency Economy of Lawa, Ban Sam village, Huey Hom Sub-district, Mae La Noi district, Mae Hong Son province. Chiang Mai, Thailand : Maejo University.

Sairuksa, Danwichai. (2013). A Development Model for Producing of Traditional Herbal Medicines from Ziziphus Attopensis Pierre with Community Participation in Unit 7 of Nong Peu, Kok Kon subdistrict, Tha Bo District, Nongkhai Province.Bangkok : Srinakharinwirot University.

Tatsaneepon Prapassorn (2007). The development of participation based local curriculum in Ban Wan community, Hangdong district, Chiangmai province. Bangkok : National Research Council of Thailand.