การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

อภิรัตน์ พุทธิดิลก
ลดาวัลย์ วัฒนบุตร
ดวงพร ศรีบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ที่มีประสิทธิภาพ 70/70                        3) เพื่อเปรียบเทียบ ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ก่อนฝึกอบรมและหลังการฝึกอบรม และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรสายสนับสนุน ที่มีต่อการใช้กิจกรรมภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ประชากร จำนวน 10 คน คือ บุคลากรสายสนับสนุน ประจำคณะ ศูนย์ สำนัก หน่วยงาน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ความต้องการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ระยะที่ 2 ศึกษาการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ             กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ใน         การวิจัย คือ ชุดฝึกอบรมกิจกรรมภาษาเพื่อการสื่อสาร แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ใน          การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1/E2 และการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ Z – test ผลการวิจัยพบว่า


  1. การพูดภาษาอังกฤษ มีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษในระดับมากที่สุด และมีความเห็นว่า ควรมีการจัดอบรมเพื่อการพัฒนาการสอนพูดภาษาอังกฤษ เช่น การแนะนำตนเอง การบอกสถานที่ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ข้อมูลพื้นฐานของมหาวิทยาลัย รวมถึงข้อมูลการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา โดยเน้นเนื้อหาที่จำเป็นต่องานที่ได้รับผิดชอบ ซึ่งการนั้นต้องสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง มีการฝึกการพูดบ่อยครั้ง และควรมีการกระตุ้น เร้าความสนใจ และเสริมแรงบุคลากรทันทีเมื่อบุคลากรสามารถพูดได้

  2. ประสิทธิภาพของแผนการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมภาษา เพื่อการสื่อสาร (CLT) ของบุคลากร         สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีประสิทธิภาพ 74.53/73.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 70/70

  3. การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  4. ความพึงพอใจต่อบุคลากรสายสนับสนุนที่มีต่อความสามารถด้านการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.26, S.D.=0.82) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมาก 13 ข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ สื่อสอดคล้องกับเนื้อหาและเหมาะสมกับวัยผู้เข้าร่วมโครงการ (gif.latex?\bar{X}= 4.47, S.D.=0.64) มีความมั่นใจและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้ (gif.latex?\bar{X}= 4.40, S.D.=0.74) สามารถจัดระบบความคิด/ประมวลความคิดสู่การพัฒนางานอย่างเป็นระบบ (gif.latex?\bar{X}= 4.33, S.D.=0.82) และมีกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน (gif.latex?\bar{X}= 4.33, S.D.=0.62)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ministry of Education. (2012). The Role of Education in Building an ASEAN Community 2015. Bangkok : Ministry of Education.

Tubtong karngsaward. (2016). Activities to teach English. Bangkok : Chulalongkorn University.

Somnuk Pattiyathanee. (2003).Educational measurement. Kalasin : Prasarn Pitting.

Somnuk Pattiyathanee. (2008).Educational measurement. Kalasin: Prasarn Pitting.

Boonchom Srisa-ard. (2002). The initial research. Edition 7. Bangkok: Thai Averill drug Hermes.

Thuwaporn Tunthakoon. (2014). Developing English speaking skills in everyday life By using English conversation practice. Bangkok : Sriprathum university.

Pawarisa Kasamesuk. (2017). A Development of Pibulsongkram Rajabhat University Staff’s Communicative English Speaking Skills through a Role-Play Activity Package. (Master of Arts). Pibulsongkram Rajabhat University : Phitsanulok.

Wattanaporn Ra-Ngubtook. (1999). A Student-Centered Approach in Learning Management. Bangkok : Love and Lift Press.

Itdharom Mitsuvan Singhara. (2016). English language training courses for local government organization personnel Mueang Kamphaeng Phet District Khampangphet Province. (Research report). Kamphaeng Phet : Kamphaeng Phet Rajabhat University.